หาโจทย์งานร่วมกับตลาดไท

 

วันที่ 9 มิย. 2555 ทีมงาน Smart Farm ได้ร่วมประชุมกับตลาดไท เพื่อแสวงหาโจทย์ความร่วมมือระหว่างกัน และการร่วมกันสร้างระบบประกันคุณภาพระหว่างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ตลาดในฐานะ trader และกลุ่มผู้บริโภคในและต่างประเทศ

โจทย์งานที่น่าจะเป็นการนำร่องคือระบบประกันคุณภาพและสอบย้อนกลับกล้วยหอม ร่วมกับกลุ่มผู้ผลิตกล้วยหอม อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ตลาดไท และกลุ่มผู้บริโภคปลายทาง ซึ่งจะมีการลงพื้นที่เพื่อประชุมกับกลุ่มผู้ผลิตต่อไป

เยี่ยมชมตลาดไท

วันที่ 8 มิถุนายน 2555 ได้ไปเยี่ยมชมตลาดไท พร้อมแสวงหาโจทย์ความร่วมมือระหว่างกัน โดยนำร่องจากการศึกษา Supply Chain ของกล้วยหอม ที่ทางตลาดไทเองเริ่มทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ผลิตด้าน GAP และ food safety ทั้งนี้จะมีการไปหารือกับกลุ่มผู้ผลิตกล้วยหอมในพื้นที่หนองเสือ จ.ปทุมธานี อีกครั้งหนึ่ง

การสัมมนาจัดทำโครงการนำร่องนวัตกรรมวิจัยบริการการเกษตร

 

วันที่ 1 มีนาคม 2555 คณะทำงาน SIG เกษตรได้ประชุมจัดทำโครงการนำร่องนวัตกรรมวิจัยบริการการเกษตร ครั้งที่ 2 เป็นหาโจทย์ในวงจรการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรมาทำโครงการนำร่องปุ๋ยสั่งตัด โดยเจ้าภาพการดำเนินการและสนับสนุนงบประมาณคือ สวทช. ประกอบด้วยงาน SRI, TT และ Smart Farm เนื้องานแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • งานบริการตรวจวิเคราะห์ดินด้วย sensors พร้อมโปรแกรมคำนวนสูตรปุ๋ยบน Smart Phone เชื่อมต่อกับ
  • การจัดตั้ง Distribution Center(DC) เพื่อจัดเก็บแม่ปุ๋ย และเครื่องผสมปุ๋ย เพื่อผสมปุ๋ยสูตรที่เหมาะสมต่อพื้นที่
  • ระบบ logistics แม่ปุ๋ย สู่ DC และเกษตรกร ในลักษณะ on-demand services
  • พืชที่นำร่อง ประกอบด้วย
    • ข้าว กับกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่คัดเลือกโดยกรมการข้าวและทีมงาน อ.ทัศนีย์ พื้นที่อาเป็นที่ จ.สุพรรณบุรี และชัยนาท
    • ยางพารา พื้นที่ จ.อุดรธานี
    • กล้วยหอม พื้นที่ จ.ปทุมธานี

ทั้งนี้คณะทำงาน SIG เกษตร จะดำเนินการยกร่างโครงการเสนอ สวทช.เพื่อพิจารณาต่อไป

ข้อเสนอการร่วมพัฒนา จ.ปทุมธานี

Smart Farm ได้นำเสนอโครงงานร่วมพัฒนา จ.ปทุมธานี ในกรอบงบประมาณปี 2556 ดังนี้

    1. การพัฒนาระบบ services value chain กล้วยหอมในพื้นที่ จ.ปทุมธานี
    2. การพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจการเกษตรระดับตำบล ในมิติของการพัฒนาผู้นำและเทคโนโลยีสนับสนุน (Area approach decision making)
    3. การพัฒนาระบบ seed certification services ให้กับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนในพื้นที่ จ.ปทุมธานี
    4. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เพิ่มคุณภาพชีวิต (การพบกันของผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์และปลอดสาร กับผู้บริโภคผ่านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร)