Field Touch -Agriculture Information Services

6dfc572d-98db-4c7b-8617-7aa3f7f7e439 02d5f485-2c2b-44d9-9e03-969406ebba37

 

 

 

 

 

d40bb94a-ab9f-41df-a9dd-51fb12950c4c 0af7dd01-cd1c-485d-bb48-7edfacf86a80

 

อีกรูปแบบของการให้บริการทางการเกษตรของญ่ปุ่น โมเดลนี้เป็นการทำงานร่วมกันของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีทางการเกษตร คือ NARO(National Agriculture and Bio-technology Research Organization) ของกระทรวงเกษตรญี่ปุ่น (MAFF) โดยสถานีทดลอง Memuru ที่เมือง Ohibiro, Hokkaido กับ บริษัทเอกชนที่ทำด้านเทคโนโลยีชั้นสูงคือ IHI ร่วมกับสหกรณ์การเกษตรของญี่ปุ่น คือ JA จับมือกันสร้างระบบบริการข้อมูลทางการเกษตรให้เกษตรกรใน Tokaji Food Valley โดยสถานีวิจัยมีหน้าที่พัฒนาพันธุ์ที่เหมาะสม ได้แก่พันธุ์ข้าวสาลีฤดูหนาวสำหรับส่งโรงงานทำแป้งขนมปัง พัฒนาพันธุ์มันฝรั่งเพื่อการแปรรูปร่วมกับบริษัทเอกชน ในขณะที่เอกชนด้านเทคโนโลยีติดตั้งเซนต์เซอร์ ที่ตรวจวัดสภาพอากาศ ความชื้นดิน และวิเคราะห์ข้อมูลส่งให้เกษตรกร ให้บริการใช้ drone และกล้อง multi-spectrum ในการบินถ่ายภาพดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหาร เพื่อบริการข้อมูลนี้สู่เกษตรกรในการใส่ปุ๋ยได้ถูกชนิด ในปริมาณที่ขาดในแต่ละพื้นที่ การร่วมกันทำงานเพื่อเกษตรกรแบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยีนี้ เกษตรกรจ่ายค่าบริการซึ่งรวมอยู่ในค่าสมาชิกของสหกรณ์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจในการนำมาใช้ในบ้านเรา เนคเทคกับ AIT โดยความช่วยเหลือจากนักวิจัย U. of Tokyo ได้พยายามลองทำต้นแบบในประเทศไทยที่ จ.สระบุรี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เหลียวมองคนอื่น…

kubota sf 8d89521e-29f1-4de7-b420-9ea47633f745 fd4c7cae-dfc4-47fd-88c3-e736282cce6e

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วันนี้นำเสนอเทคโนโลยี Precision Agriculture แบบเต็มรูปแบบจากบริษัท Kubota ประเทศญี่ปุ่น Kubota ได้ออกแบบระบบการบริการทางการเกษตรที่เรียกว่า KSAS (Kubota Smart Agriculture System) เป็นต้นแบบ services innovation ด้านการเกษตรที่น่าสนใจ โดยเน้นการพัฒนาเครื่องเกี่ยวข้าวที่ติดตั้งเซนต์เซอร์ ที่สามารถตรวจวัดปริมาณโปรตีนที่อยู่ในเมล็ดข้าวได้ เรียกว่า Taste sensor ซึ่งเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จในแต่ละแปลงก็มีข้อมูลผลผลิตต่อพื้นที่และปริมาณโปรตีนที่นำมาวิเคราะห์ว่า ถ้าแปลงดังกล่าวปริมาณโปรตีนยังต่ำ ในการไถพรวนพื้นที่ครั้งต่อไป จะมีการใส่ปุ๋ยลงในพื้นที่นั้นพร้อมการปลูกในปริมาณที่ขาด เพื่อทำให้ผลผลิตและปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้นเท่ากับแปลงที่มีคุณภาพดีแปลงอื่นๆ ซึ่งในที่สุดจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี สม่ำเสมอกัน ทั้งพื้นที่

 

แผนงานนวัตกรรมบริการการเกษตร ระหว่างเนคเทค-สวก.

services NECTEC-ARDA

เนคเทคและ สวก.ได้ร่วมกันยกร่างแผนปฏิบัติงานด้านนวัตกรรมบริการการเกษตร 5 ปี (2013-17) เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการภาคเกษตร (Standard & Measurement) ให้ภาคการเกษตรไทย โดยเฉพาะเกษตรกรได้รับการบริการที่ตรงต่อความต้องการ ทั่วถึง ถูกต้อง และรวดเร็ว ทั้งนี้จะเริ่มกับไม้ผล 5 ชนิด ก่อน คือ มะม่วง ลำไย ทุเรียน มังคุด และส้มโอ การบริการจะมองในสามมิติก่อนคือ Platform as a services, Application as a Services และ Knowledge as a Services โดยตั้งเป้าไว้ในการทำให้เกิด Smart Farmers หรือเกษตรกรยุคใหม่ที่ใช้ข้อมูล สารสนเทศ และเครื่องมือ ICT และ/หรือ Farm Robotics ในการพัฒนาตนเองการผลผลิต อย่างน้อย 10% ในปี 2017

แผนการทำงานนวัตกรรมบริการการเกษตร

Smart services roadmap

แผนการทำงานด้านนวัตกรรมบริการการเกษตร ของ Smart Farm Flagship เนคเทค ที่ดำเนินการควบคู่กันไปทั้งในและระหว่างประเทศ ซึ่งในประเทศนั้น SIG-AG หรือกลุ่มความร่วมมือด้านการเกษตร ภายใต้ SRI Thailand ได้ดำเนินการทำกรอบงานและโครงการนำร่องนวัตกรรมบริการปุ๋ย ซึ่งขยายผลไปสู่การทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีร่วมกับ สวก. โดยขยายผลนวัตกรรมบริการการเกษตรไปสู่ไม้ผล 5 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ลำไย ทุเรียน มังคุด และส้มโอ ทางด้าน Platform as a Services และ Knowledge as a Services

SIG-AG ได้เดินทางสร้างงานและความร่วมมือกับ SRII(Services Research Innovation Institute) และพร้อมเป็นเจ้าภาพในการจัด SRI Asia Summit ระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน 2013 ที่กรุงเทพฯ โดย SIG-Ag พร้อมที่จะทำ workshop เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางสำหรับนวัตกรรมบริการการเกษตรในภูมิภาคต่อไป

Smart Farm ในปี 2013

Smart farm 2013

Smart Farm ขอนำเสนอกรอบการดำเนินงานในปี 2013 ตามภาพด้านบน งานทั้งหมดเป็นการทำนำร่องร่วมกับหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสามารถตอบโจทย์

  • ยุทธศาสตร์ Smart Thailand 2020
  • แผนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Smart Farmers และ Smart Officers ของกระทรวงเกษตร (2013)
  • สนับสนุนการพัฒนา Services Innovation สำหรับ Crop Cluster ภายใต้การกำหนดของ สภาพัฒน์ (2013)
  • แผนยุทธศาสตร์การสร้างพื้นฐานงานด้านนวัตกรรมบริการการเกษตร ร่วมกับ สวก. (2013-2017)

ร่วมประชุม SRII India

DSC_0003 DSC_0006 DSC_0009

ระหว่างวันที่ 12-15 ธันวาคม 2555 ได้เข้าร่วมประชุม SRII India ที่ Infosys Campus, Mysore, India ซึ่งเป็นการประชุมที่นำเสนอความก้าวหน้าทางด้าน Services Innovation ของด้านต่างๆ เช่น สุขภาพ การศึกษา e-Government การเกษตร เป็นต้น ทาง SRI Thailand ได้ เสนอกรอบการทำงาน SIG การเกษตร เพื่อเป้นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรมบริการการเกษตรในภูมิภาคและของโลกต่อไป ทั้งนี้ประเทศไทยจะรับเป็นเจ้าภาพในการประชุม SRII Asia ในเดือนกันยายน 2556 ด้วย

 

ความต่อเนื่องจาก NECTEC ACE 2012

ผ่านไปกับการประชุม NECTEC ACE 2012 ซึ่ง Smart Farm Flagship/SIG เกษตร ได้นำเสนองานนวัตกรรมบริการปุ๋ย และเป็นเวทีที่พันธมิตรใน Co-creation ได้แก่ ผู้ใหญ่ร่วมจากบ้านห้วยขมิ้น สระบุรี อธิบดีกรมการข้าว บริษัทสินธุสุวรรณ ผอ.สวก. มาร่วมมือกันนำเสนอ และนำไปสู่ความชัดเจนในวิถีปฏิบัติในระยะต่อไป

  

  

ในเวทีเสวนา วันที่ 20 กย.ในหัวข้อ Sensors กับการเกษตร ก็ได้มีการตอกย้ำถึงความร่วมมือในการพัฒนาการใช้งาน และการสนับสนุนงบวิจัย ในการนำเซนต์เซอร์ไปใช้กับการเกษตรไทย และในวันที่ 15 ตุลาคมที่จะถึงนี้  สวก.และเนคเทคจะร่วมกันทำแผนปฏิบัติการนวัตกรรมบริการด้านการเกษตร แผน 5 ปี ร่วมกัน อันเป็นอีกก้าวที่สำคัญของการเกษตรไทย