ระบบตรวจสอบมาตรฐานเส้นไหมไทย

กรมหม่อนไหมร่วมกับ Smart Farm ดำเนินการจัดทำระบบตรวจสอบมาตรฐานเส้นไหมไทย ด้วยเทคโนโลยีแสงและภาพ ทั้งนี้เพื่อเตรียมการประกาศการใช้มาตรฐานพร้อมระบบตรวจสอบเส้นไหมไทย ก่อนการเปิดตลาดเสรีอาเซียน และเป็นการรักษาตลาดผ้าไหมไทยทั้งระบบ งานนี้ดำเนินการในปี 2555

อบรม e-Learning หม่อนไหม

วันที่ 31 สิงหาคม 2554 ร่วมพิธีเปิดการอบรม e-Learning ให้กับกรมหม่อนไหม โดยเนคเทคนำระบบ Learn Square มาใช้กับสาระด้านหม่อนไหม โดยจัดอบรมเป็น 2 รุ่น คือ เจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยหม่อนไหมทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง ทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างเนคเทคและกรมหม่อนไหม

พบอธิบดีกรมหม่อนไหม

วันที่ 19 สิงหาคม2554 ทีมงานเนคเทคได้เข้าพบท่านอธิบดีกรมหม่อนไหม เพื่อชี้แจงความก้าวหน้าในการทำงานภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งในปี 2554-2556 นั้น มีโครงการที่จะร่วมทำทั้งหมด 12 โครงการด้วยกัน ภายใต้แนวคิด Smart Silk Shop

ทำงานที่ศูนย์หม่อนไหมสระบุรี

วันที่ 16 สิงหาคม 2554 ทีมนักวิจัยเนคเทคได้เดินทางไปปฏิบัติงานที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมสระบุรี ซึ่งมีงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

  • เครื่องฝักเทียมไข่ไหม (ตามรูป)
  • เครื่องแยกเพศไข่ไหม โดยใช้เทคโนโลยีแสง
  • ระบบเฝ้าระวังในห้องเย็นเก็บไข่ไหม และห้องกกไข่ไหม
  • ระบบให้น้ำในแปฃงหม่อน

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับกรมหม่อนไหม

 

 

วันที่ 29 มิถุนายน 2554 มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมหม่อนไหม โดยนายไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ อธิบดีกรมหม่อนไหมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โดยมี ผศอ. เป็นผู้ลงนาม มีนางสาวสุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานสักขีพยาน ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวมีงานที่ Smart Farm ร่วมกับ DT ดำเนินการในปี 2554-2555 ในโครงการ Smart Silk Shop ทั้งหมดจำนวน 7 โครงการ

โครงการ Smart Silk Shop

วันที่ 21 มิถุนายน 2554 Smart Farm ร่วมกับ Digitized Thailand ประชุมร่วมกับกรมหม่อนไหม เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้กับหม่อนไหม ทั้งนี้ได้มีความเห็นที่จะร่วมกันดำเนินการศึกษาในปี 2554 จำนวน 6 โครงการ ประกอบด้วย

 

  • โครงการวิจัยและพัฒนาระบบตรวจเพศหม่อนไหมความแม่นยำสูงด้วยแสง
  • โครงการพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมเครื่องฟักเทียมไข่ไหมแบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
  • โครงการพัฒนาฐานความรู้เชิงความหมายสำหรับหม่อนไหม
  • โครงการจัดทำพจนานุกรมหม่อนไหม
  • โครงการพัฒนาระบบเรียนรู้ออนไลน์ด้วย Learn square
  • โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศหม่อนไหม(ฐานข้อมูลงานวิจัย)

Traceability ไหม

วันที่เนคเทค 28 กุมภาพันธุ์ 2554 เนคเทคได้ประชุมร่วมกับ มกอช. และกรมหม่อนไหม ในเรื่อง Traceability ไหม มีประเด็นสรุปจากการประชุม ดังนี้

ที่ประชุม ดร.ชยกฤต เสนอใช้งบประมาณจาก มกอช.ในการดำเนินงานจัดทำ Feasibility study โดยผลลัพธ์ของงานนี้คือเนคเทคจะต้องส่ง TOR จำนวน 1 เล่ม เพื่อให้กรมหม่อนไหมใช้ในการประกาศหาผู้รับจ้างมาดำเนินการจัดทำระบบตรวจสอบ ย้อนกลับ (Traceability) มีรายละเอียดคือ

1.       ศึกษาและ ออกแบบ Database ประกอบด้วย

1.1   คนเลี้ยง ไหม

1.2   การสาวไหม

1.3   ลอกกาวไหม

1.4   ทอผ้า

2.       ศึกษาและ ออกแบบ Data Standard

3.       ลงพื้นที่ ศึกษาและรวบรวมความต้องการกลุ่มผู้เลี้ยงไหม กลุ่มผู้ทอผ้าไหม ในการนำเทคโนโลยี 2D Barcode หรือ RFID เข้ามาช่วยในการตรวจสอบย้อนกลับผ้าไหมและยกระดับ มูลค่าของผลงาน

เปิดอาคารที่ทำการกรมหม่อนไหม

วันที่ 11 มีนาคม 2554 เนคเทคได้ร่วมเฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารที่ทำการกรมหม่อนไหม โดยมีรองผู้อำนวยการ อ.กว้าน สีตะธานี และคณะเข้าร่วมรับเสด็จและจัดแสดงผลงานกี่ทอผ้าอัตโนมัติ และสถานีตรวจอากาศ

Traceability ไหม

วันที่ 21 กุมภาพันธุ์ 2554, Smart Farmได้รับเชิญจาก มกอช. ไปหารือกับรองอรทัย ที่กรมหม่อนไหม ด้วยกรมหม่อนไหมประสงค์ที่จะทำระบบ Traceability ผ้าไหมยกดอก จ.ลำพูน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามสถานที่ ที่ได้รับ GI ในปี 2554 นี้ ทั้งนี้เป็นการนำร่องก่อนขยายผลสู่ อีก 2 GI คืก ผ้าแพรวา จ.กาฬสินธิ์ และผ้าไหมมัดหมี่ชนบท จ.ขอนแก่น นอกจากนี้กรมฯยังมีแผนที่จะทำระบบ traceability ผ้าไหมที่ได้เครื่องหมายรับรองตรานกยูง ที่ประกอบด้วย ยูงทอง ยูงเงิน ยูงน้ำเงิน และยูงเขียวใน ปี 2555 ต่อไป

กรมหม่อนไหมเยี่ยมเนคเทค

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2554 อธิบดีกรมหม่อนไหม และคณะ ประกอบด้วยรองอธิบดีและเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน มาเยี่ยมชมและประชุมกรอบความร่วมมือระหว่างกรมหม่อนไหมและเนคเทคใน supply chain ของไหม