การประกวดการพัฒนา Mobile Application ด้านการเกษตร

เนคเทคได้จัดประกวดการพัฒนา Mobile Application เพื่อการเกษตร เป็นการภายในเพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยเสนอแนวคิดที่ตอบสนองต่อ Flagship หลักขององค์กร

สำหรับด้านการเกษตรมีผู้ส่งเข้าประกวด 4 เรื่อง มีผลการพิจารณา ดังนี้

  1. อันดับที่ 1 คือการจัดการผักระบบไฮโดรโพนิกส์สำหรับครัวเรือนบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์(Hydroponic Manager) ของ EST
  2. อันดับที่ 2 คือ การระบุชนิดของดอกไม้จากภาพด้วยลักษณะเด่นทางด้านสีและรูปร่างในโปรแกรมผึ้งใจสิงห์ (Identify type of flower from photo by color and shape features in Bee The Lion) ของ IMG
  3. อันดับที่ 3 คือ ระบบฟาร์มเมท (Farmmate System) ของ ICCRU
  4. อันดับที่ 4 คือ การสื่อสารผ่านหน้าจอโทรศัพท์แบบเสมือนจริง (เออาร์) ของ OQC

Sensors กับการเกษตร ร่วมกับ สวก.

  

วันที่ 20 มิย. 2555 ได้ประชุมร่วมกับ สวก. เพื่อคุยลายละเอียดทางเทคนิคในโครงการพัฒนาระบบเรือนโรงปิดสำหรับกล้วยไม้และผักตระกูลกระเพราสำหรับการส่งออก เพื่อนำร่างโครงการนำเสนอ สวก.ต่อไป ในโครงการทั้งสองนี้เป็นการทำงานในลักษณะ PPP (Public-Private-Partnership) ที่มีสมาคมผ้ส่งออกดอกกล้วยไม้ไทย สมาคมผู้ส่งออกผักและผลไม้ไทย กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยง เนคเทค กรมวิชาการเกษตร และ สวก.ร่วมกันดำเนินงาน

Logistics ผัก

วันที่ 14 มิถุนายน 2554 ประชุมเตรียมจัดทำชุดโครงการ Logistics ผักภาคตะวันตก เพื่อเสนอของบประมาณดำเนินการในปี 2555 ในกรอบการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. ทั้งนี้มีผู้ร่วมโครงการประกอบด้วย กรมส่งเสริมการเกษตร ตลาดศรีเมือง กลุ่มเกษตรกรในพื้นที

การประชุม SIG เกษตร นัดพิเศษ

 

ตามที่ Smart Farm และ SIG เกษตร ได้ลงพื้นที่ จ.ราชบุรีและมีแนวคิดที่จะร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ กลุ่มเกษตรกร ภาคเอกชน ในการนำเทคโนโลยีด้าน IT เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา supply chain ของผักในพื้นที่นั้น เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ได้มีการร่วมประชุมกับผู้เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง โดยได้เชิญ อ.สมยศ เจริญอักษร ผู้ประสานงานชุดโครงการวิจัยโลจิกติกส์เกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย รองผู้อำนวยการ สทอภ. ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย ม.ศรัประทุม ร่วมให้ข้อมูลในเรื่องยุทธศาสตร์วิจัยด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานเกษตร ซึ่งประกอบด้วย 4 กลุ่ม หลัก ได้แก่

  1. การวิจัยเพื่อยกระดับผลผลิตด้านโลจิสติกส์(Logistic Productivity) ของสินค้าเกษรไทย
  2. การวิจัยเพื่อสร้างคุณค่าและจัดการคุณค่าในห่วงโซ่อุปทานเกษตรและอาหาร
  3. การวิจัยเกี่ยวกับการประกันคุณภาพเพื่อความปลอดภัยทางอาหาร
  4. การวิจัยเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของสมาชิกในห่วงโซ่อุปทาน

ทั้งนี้คณะทำงานจะ

  • สรุปยกร่างการทำงาน Logistic ผักภาคตะวันตก กรณีศึกษาตลาดศรีเมือง เพื่อนำเสนอ วช.ต่อไป
  •  ในขณะเดียวกันก็เสนอกรอบงานที่สามารถนำ IT ไปทดสอบการใช้งานเบื้องร่วมกับตลาดศรีเมือง  และ
  • การเสนอเรื่องการทำการศึกษษเบื้องต้นเพื่อใช้เงินจาก platform สวทช.

Presentation ประกอบการประชุม


การประชุม SIG เกษตรเรื่อง Supply Chain Management ผัก

 

วันที่ 18 เมษายน 2554 SIG เกษตร ได้ประชุมคณะทำงานต่อเนื่องจากการลงพื้นที่ จ.ราชบุรี ประกอบด้วยคุณเปรม ณ สงขลา ประธาน SIG เกษตร ดร.ภาสกร SRI platform director, ผู้แทนจาก cluster อาหารและเกษตร, TMEC, ผู้แทน สกว.ฝ่ายอุตสาหกรรม ผอ.ศูนย์วิจัย ม.ศรีปทุม ร่วมหารือแนวทางการทำงานในพื้นที่ จ.ราชบุรี สรุปประเด็นจากการประชุมได้ดังต่อไปนี้

  • ที่ประชุมเห็นชอบให้ทำการศึกษา Supply Chain Management ของผัก ภาคตะวันตก โดยเลือกกลุ่มศึกษาในพื้นที่ จ.ราชบุรี(กลุ่มหนองไร่ และกลุ่มเจดีย์หัก) และตลาดกลางสินค้าผักผลไม้ คือ ตลาดศรีเมือง ทั้งนี้ผลการศึกษาต้องได้
    •  road map ของการทำวิจัยและภาคปฏิบัติต่อเนื่องระยะต้น กลาง และระยะยาว ของ การปรับปรุงมาตรฐานการผลิตที่ทำให้ได้สินค้ามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน GAP
    • มีข้อเสนอแนะเรื่อง post harvest
    •  เรื่อง logistics ที่เหมาะสม
    • ภาคการบริการที่จะเกิดขึ้นหลังการปรับปรุงระบบการผลิตและการขนส่ง
    • และระบบการกระจายสินค้าและการสร้างภาพลักษณ์สินค้าคุณภาพในระยะต่อไป
  • TMEC และตลาดศรีเมือง จะร่วมกันศึกษาการใช้ sensors กับการขนส่งสินค้า หรือเทคโนโลยีอื่นที่เป็นการนำร่องการปรับใช้เทคโนโลยีร่วมกัน ขณะเดียวกันอาจศึกษาการถอดบทเรียนเกษตรกรจากการติดตั้งระบบเก็บข้อมูลในแปลงด้วย
  • โครงการนี้เป็นการขอทุนจาก matching fund ระหว่าง สกว. และ สวทช.
  • ระยะเวลาศึกษา 6 เดือน
  • เป็นการจัดหาผู้เชี่ยวชาญ ด้านการผลิต logistics, post harvest, และเศรษฐศาสตร์ มาร่วมทีม
  • จะเริ่มดำเนินการยกร่างโครงการภายในสัปดาห์นี้
  • ประชุมครั้งต่อไปเพื่อเสนอร่างโครงการในวันที่ 3 พค. 2554

แผนแม่บทงานวิจัยพืชผักและเครื่องเทศ

ตามที่ได้เข้าร่วมประชุมทำแผนแม่บทงานวิจัยพืชผักและเครื่องเทศ ที่จัดโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ล้านนา เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554 ที่ผ่านมานี้ ทางสถาบันฯได้จัดทำผลการระดมสมองดังกล่าว ตามเอกสารข้างล่างนี้

รายงานแผนแม่บทผักฉบับสมบูรณ์

การจัดทำแผนแม่บทการวิจัยพืชผักและเครื่องเทศ

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554 ได้เข้าร่วมประชุมระดมสมองการจัดทำแผนแม่บทการวิจัยพืชผักและเครื่องเทศของประเทศ ที่ มทร.ล้านนา จ.เชียงใหม่ วัตถุประสงค์ของการจัดเพื่อที่จะดำเนินการระดมข้อคิดเห็นต่อแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์งานวิจัยพืชผักและเครื่องเทศของประเทศ โดยมองความสำคัญของงานวิจัยต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ การจัดกลุ่มงานวิจัยสำหรับพืชที่มีศักยภาพต่อการพัฒนาด้านคุณค่าทางอาหารและสุขภาพ การให้ความสำคัญต่อการส่งออกสินค้าในสองประเภทดังกล่าว Smart Farm ได้เสนอแนวคิดในการนำเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ไปใช้ในกระบวนการผลิต ขนส่ง แปรรูป และการประกันคุณภาพของพืชผัก อนึ่งการประชุมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์งานวิจัยของชาติ ปี 2554-2559 ของรัฐบาล