แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11

วันที่ 25 สิงหาคม 2554 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดระดมความคิดเห็นต่อร่างแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ประกอบด้วยสาระสำคัญดังต่อไปนี้

แนวทางการพัฒนา 9 ประเด็น

  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
  • ความเข้มแข็งเกษตรกร
  • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • เครือข่ายวิสาหกิจ(Cluster)
  • ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน
  • เศรษฐกิจสร้างสรรค์ภาคเกษตร
  • เศรษฐกิจการเกษตรสีเขียว
  • ความร่วมมือและข้อตกลงระหว่างประเทศ
  • การพัฒนาบุคลากรด้านการเกษตร

วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผน

  1. เพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาชีพมั่นคง รายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ และมีความภูมิใจในอาชีพ
  2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ให้มีทั้งคุณภาพและปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่ม การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และจัดสรรการผลิตที่เหมาะสมระหว่างอาหารและพลังงาน
  3. เพื่อให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน

เป้าหมาย

  1. ความผาสุกของเกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 ในปี 2559
  2. เศรษฐกิจภาคเกษตรเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี
  3. ทรัพยากรการเกษตรมีความเหมาะสมต่อการผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มชึ้น

ตัวชี้วัด

  1. ดัชนีความผาสุกของเกษตรกร
  2. อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาเกษตร
  3. พื้นที่การเกษตรได้รับการบริหารจัดการ

ยุทธศาสตร์

  1. พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร
  2. พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และความมั่นคงด้านอาหาร
  3. พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน

 

วันที่ 7 กรกฏาคม 2554 ร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาประเทศใน ระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (.. 2555-2559) สาระสำคัญของร่างแผน 11 ประกอบด้วย

  • วิสัยทัศน์ สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
  • พันธกิจ 4 ด้าน
  1. สร้าง สังคมเป็นธรรมและสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต ได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทีม มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค ทุกภาคส่วนได้รับการเสริมพลังให้สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ภายใต้ระบบบริหารจัดการภาครัฐที่โปร่งใสและเป็นธรรม

  2. พัฒนาคุณภาพคน ไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง

  3. พัฒนาฐานการผลิตและการ บริการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและ สังคม

  4. สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน

แนวทางการสร้างความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน

  1. การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน
  1. การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร
  2. การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต
  3. การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้แก่เกษตรกร
  4. การสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชน
  5. การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานชีวภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและความเข้มแข็งภาคเกษตร
  6. การปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน

เก็บตกจาก…แผน 11 กับการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในการสัมมนาแผน 11 กับการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดโดยสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 7 กค.ที่ผ่ามานี้ ผมมีข้อคิดเห็นดีๆจากที่ประชุมมาฝากครับ

เริ่มจากข้อเสนอแนะของคุณหมอประเวศ วะสี ที่มองการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันว่าเป็นวิวัฒนาการของความคิด เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน การเอาคนเป็นตัวตั้ง การเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง จนถึงอยู่เย็น เป็นสุข และยั่งยืน โดยมองสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนใน 3 องค์ประกอบ คือ

  • สังคม
  • เศรษฐกิจ
  • สิ่งแวดล้อม และ
  • ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน

มี crucial components ประกอบด้วย

  • เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ให้ ชุมชนจัดการตัวเอง ท้องถิ่นจัดการตัวเอง และจังหวัดจัดการตัวเอง ที่จะส่งผลให้
  • เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการ อย่างน้อย 8 เรื่อง ได้แก่ เศรษฐกิจ ใจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การศึกษา สุขภาพและประชาธิปไตย ที่จะส่งผลให้
  • เกิดดุลภาพในชาตอ และส่งผลให้
  • เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา

ทั้งนี้ยังได้ให้ข้อคิดในการทำกระบวนการชุมชนในฐานะชุมชนคือฐานของสังคมไว้ ดังนี้

  • สภาผู้นำชุมชน
  • สำรวจจัดทำข้อมูลชุมชน
  • ทำแผนที่ชุมชน
  • เสนอสภาประชาชน
  • ร่วมขับเคลื่อนแผนชุมชน
  • การพัฒนาอย่างบูรณาการ

โดยมีการสนับสนุนในเรื่องต่อไปนี้

  • ปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากร
  • หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด
  • ปรับบทบาทระบบราชการให้สนับสนุนพื้นที่เชิงนโยบายและวิชาการ
  • เชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนกับเศรษฐกิจมหภาคให้เกื้อกูลกัน
  • เชื่อมโยงผู้บริโภคในเมืองกับผู้ทำการเกษตรยั่งยืน
  • ปรับการงบประมาณหนุนพื้นที่ ปรับการประเมินผลราชการ
  • แก้ไข กฏหมาย ระเบียบ

หวังว่าคงได้ข้อคิดดีๆไปปรับใช้นะครับ

แผน 11….สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

วันที่ 7 กรกฏาคม 2554 ร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจแฃะสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) สรุปสาระสำคัญของร่างแผน 11 ประกอบด้วย

  • วิสัยทัศน์ ” สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”
  • พันธกิจ 4 ด้าน
  1. สร้างสังคมเป็นธรรมและสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต ได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทีม มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค ทุกภาคส่วนได้รับการเสริมพลังให้สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ภายใต้ระบบบริหารจัดการภาครัฐที่โปร่งใสและเป็นธรรม
  2. พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง
  3. พัฒนาฐานการผลิตและการบริการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
  4. สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • ตัวชี้วัด
    • ดัชนีความอบู่เย็นเป็นสุข ดัชนีความสงบสุข สัดส่วนรายได้ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงสุด ร้อยละ 10 กับกลุ่มที่มีรายได้น้อย ร้อยละ 10 สัดส่วนแรงงานนอกระบบที่สามารถเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคม คดีความขัดแย้งต่อเจ้าหน้าที่รัฐต่อ 10,000 ครัวเรือน คดีในศาลปกครองต่อ 10,000 ครัวเรือน และดัชนีภาพลักษณ์การทุจริตประพฤติมิชอบไม่ต่ำกว่า 5.0 คะแนน
    • จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย สัดส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ และดัชนีความอบอุ่นของครอบครัว
    • อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ ผลิตภาพการผลิตรวม อันดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อ GDP
    • คุณภาพน้ำ และอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละของพื้นที่ป่าต่อพื้นที่ของประเทศและสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ
  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
  1. ยุทธศาสตร์สร้างความเป็นธรรมในสังคม
  2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
  3. ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
  4. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
  5. ยุทธศาสตร์สร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
  6. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน