สภาพอากาศกับไม้ผล….จะอยู่กับมันอย่างไร

20160411_1420571461227180232

 

 

 

ปี 2559 เป็นปีที่ประเทศไทยประสบสภาวะแล้งที่รุนแรง ส่งผลกระทบกับการเกษตรในหลายพื้นที่ของประเทศ ภาพความเสียหายจากสวนผลไม้ที่ยืนต้นตายเพราะขาดน้ำ ในช่วงชีวิตเราจะได้เห็นไม่บ่อยนัก สัญญาณของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรุนแรงนี้เตือนให้เราต้องหันกลับมาสู่ความเข้าใจพื้นฐานของชีวิต คือ ความต้องการน้ำ และความต้องการน้ำของพืชแต่ละชนิด แต่ละช่วงชีวิต แต่ละพื้นที่ ล้วนมีความแตกต่างกัน ความจำเป็นพื้นฐานที่กล่าวถึงคือ การเข้าใจความต้องการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิด การแสดงออกซึ่งการขาดน้ำ และการให้น้ำด้วยข้อมูลและการจัดการ จากการเรียนรู้จะนำไปสู่การปฏิบัติบนฐานของข้อมูลในแต่ละพื้นที่

f291cf39-5f3b-427c-a023-34314726dceb10fca64a-300b-4f12-ad50-55d1ef095e72

 

 

 

 

 

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ร่วมกับ ดร.วินัย วิริยะอลงกรณ์ คณะผลิตกรรมการเกษตร ม.แม่โจ้ ได้ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปงสภาพอากาศต่อผลผลิตและคุณภาพของลำไยในภาคเหนือ ตั้งแต่ปี 2557 ซึงข้อมูลที่ได้มีความน่าสนใจมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเฉพาะถิ่น(Micro climate) เช่น ความชื้นในอากาศ ปริมาณความเข้มของแสง อุณหภูมิช่วงกลางวันและคืน เป็นต้น การทำงานเชิงลึกเช่นนี้ ทำให้เราเข้าใจสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป และการตอบสนองของพืชในแต่ละสภาพ micro climate และนำมาสู่คำแนะนำให้เกษตรกรในการบริหารจัดการสวนทั้งในส่วนของการลดความเสี่ยงของพืช และการเตรียมปัจจัยพื้นที่ที่จำเป็น เช่น แหล่งน้ำขนาดเล็ก ระบบการส่งน้ำ และการใช้น้ำที่มีประสิทธิภาพสูงสุด(water efficiency) ด้วยการประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัด

งานวิจัยนี้ยังได้ศึกษา Crop water stress Index ด้วย Thermal sensor ประกอบกับการศึกษาการปิดเปิดปากใบ เพื่อเข้าใจกระบวนการที่พืชตอบสนองต่อการขาดน้ำ และวางแผนการพัฒนาระบบการติดตามการขาดน้ำของพืช ซึ่งอาจจะติดเซนต์เซอร์บน drone ในอนาคต

งานวิจัยนี้ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ จะสามารถเผยแพร่สู่สาธารณะได้ประมาณปลายปีนี้ และรูปแบบการศึกษาน่าจะขยายผลสู่ไม้ผลชนิดอื่นๆได้

 

 

 

 

 

 

 

 

เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนน้ำอ้อม

 

วันที่ 5 เมษายน 2559 ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนบ้านน้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร ได้เห็นความเข้มแข็งของกลุ่มน้ำอ้อม ที่รวมตัวกันเพื่อผลิตข้าวหอมมะลิ 105 อินทรีย์ ข้าวหอมมะลิแดง ข้าว Rice Berry ที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานการผลิตจากองค์กรตรวจประเมินคือ Certification of Environmental Standards GmbH หรือ CERES ที่สินค้าที่ได้รับการรับรองนี้ ได้รับการยอมรับจาก EU, NOP, IFOAM นั่นหมายความว่าสามารถส่งไปตลาดยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นได้ สิ่งเหล่านี้ต้องมาจากความร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจังของคนในเครือข่าย ซึ่งในขณะนี้มีสมาชิกในเครือข่ายกว่า 900 ราย มีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 500 ตันต่อปี

ในส่วนของเทคโนโลยีที่นำไปใช้กับกลุ่มน้ำอ้อมคือระบบ TAMIS ซึ่งเป็นระบบช่วยงานบันทึกข้อมูลสมาชิก พื้นที่ และข้อมูลประกอบการประเมิน เพือนำร่องร่วมกันระหว่างผู้ผลิต และผู้ตรวจประเมิน ผลจากการนำร่องในพื้นที่นี้จะนำไปสู่การขยายผลกับกลุ่มผู้ผลิตข้าวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคอื่นในลำดับต่อไป

 

 

20160405_134659

20160405_09440220160405_09442820160405_09464220160405_092838

20160405_102527

แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์กับการเกษตร

บทความเรื่อง แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์กับการเกษตร 

ท่านที่สนใจสามารถ download ได้ครับ

IMAG0654

SmartAG

อีกก้าว…สู่ความสำเร็จ

20160328_194056-1856f3cbd-8674-42d3-bd92-202a7ff98e3e

 

 

 

 

 

 

 

จากสวน…ถึงบ้าน อยากทานทุเรียน ชะนี ก้านยาว พวงมณี หมอนทอง ระดับ premium ตัดแก่เกิน 120 วัน เชิญได้แล้วครับ วันนี้กลุ่มชาวสวนทุเรียนจันท์ สถาบันทุเรียนไทย เปิดตัวกลุ่มและพร้อมรับสั่งทุเรียน delivery ถึงบ้านท่าน เป็นอีกมิติหนึ่งของชาวสวนทุเรียนที่ลงมาเล่นตลาด premium เอง ช่วยกันดูแลคุณภาพมาตรฐาน และสร้างฐานตลาดใหม่ ทุเรียนทุกลูกสามารถสอบย้อนกลับถึงสวนได้ สนใจลองเข้าไปดู FB ของสถาบันทุเรียนไทย หรือ สวนอุดมทรัพย์ ในเบื้องต้นได้ครับ รายละเอียดจะมานำเสนอเป็นระยะ….

เก็บตกจากงาน APOC 12

งานประชุม Asia Pacific Orchid Conference ครั้งที่ 12 ที่เมืองทองธานี เพิ่งจบไป นอกจากความสวยงามของกล้วยไม้หลากพันธุ์ จากหลายประเทศที่ร่วมแสดง เรายังได้เห็นถึงพัฒนาการของวงการกล้วยไม้ไทย และต่างประเทศ ที่มีแนวทางที่เหมือนและแตกต่าง

DSC01411

DSC01388

 

 

 

DSC01408 DSC01333

 

 

 

 

การนำเสนอของไต้หวัน เราจะเห็นความหลากหลายของชนิด สี และขนาด ของกล้วยไม้ ที่มีการปลุกแบบอุตสาหกรรม โดยการลงทุนของรัฐบาลในการทำนิคมกล้วยไม้เพื่อการส่งออก ที่รัฐลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมกล้วยไม้ทั้งระบบ

20160319_104718

a219ab1f-b37b-4d5a-ac41-13a6ff10f1ef

 

196bd77a-41fb-4d2e-9060-74ce7e2ecb85

 

 

 

 

 

 

ถึงจะเป็นกล้วยไม้ต่างสกุลกันและอยู่คนละตลาด แต่แนวคิดการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน คงละเลยไม่ได้ ทั้งเแกชนและรัฐของเราต้องหันกลับมาดูตัวเองก่อนว่าเราจะอยู่อย่างเดิมใครเก่งใครรอด รัฐจัด events ไป ตามถนัด หรือรวมกันเพื่ออนาคตของวงการทั้งหมด ด้วยกันเปิดใจที่จะร่วมกันก้าวไปด้วยเทคโนโลยีออกจากจุดเดิมที่เราอยู่ มีการจัดการที่เป็นระบบ มีภาครัฐเป็น facilitators สนับสนุนในสิ่งที่จำเป็น

 

 

 

 

 

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัยทุเรียน 2559-2563

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเกษตรกร และผู้ส่งออก ในการจัดทำ “ยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัยทุเรียน 2559-2563” ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนางานวิจัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์การตลาด และการผลิตที่เปลี่ยนไปตามกระแสความต้องการของผู้บริโภค และความต้องการสินค้าคุณภาพ และหลากหลาย ในขณะที่ชาวสวนยังต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ปัญหาแรงงาน และปัจจัยการผลิต ดังนั้นการก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นี้ ทั้งชาวสวน ผู้ประกอบการ นักวิจัย ต้องมีเอกภาพในการแก้ปัญหาและเตรียมรับมือกับผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้น ยุทธศาสตร์ฉบับนี้จึงเป็นแนวทางนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง

a2a25498-9571-4d63-91a6-8220301f75c2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จะเห็นได้จาก SWOT ของวงการทุเรียนไทย ที่จะวนอยู่ในปัญหาเดิมๆ จึงมีความจำเป็นต้องก้าวให้พ้นวังวนของสิ่งที่เกิดขึ้น ด้วยการรวมตัวกันของเกษตรกรผู้ปลูก สหกรณ์ ผู้ส่งออก และหน่วยงานสนับสนุน ในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เติมให้ห่วงโซ่การผลิตอย่างเร่งด่วน

cef84345-1626-4ba7-88d6-51a7294c3ded

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ในยุทธศาสตร์ดังกล่าว ได้แบ่งงานวิจัยที่จำเป็นออกเป็นกลุ่ม ดังนี้

  1. วิจัยและพัฒนาพันธุ์ทุเรียนใหม่
  2. การออกแบบสวนทุเรียนใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
  3. การกระจายพื้นที่ผลิตทุเรียนคุณภาพ ด้วยโซนการผลิต
  4. การพัฒนากลุ่มผลิตทุเรียนคุณภาพ
  5. พัฒนาเทคโนโลยีด้านเขตกรรม
  6. พัฒนาระบบการจัดการสวนทุเรียนในสภาพการเปลี่ยนแปลงอากาศ
  7. พัฒนาระบบวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  8. วิจัยและพัฒนาการแปรรูป บบรจุภัณฑ์ การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆของทุเรียน
  9. พัฒนาการตลาด
  10. วิจัยและพัฒนาการขนส่ง
  11. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเพื่อขยายผล

Field Touch -Agriculture Information Services

6dfc572d-98db-4c7b-8617-7aa3f7f7e439 02d5f485-2c2b-44d9-9e03-969406ebba37

 

 

 

 

 

d40bb94a-ab9f-41df-a9dd-51fb12950c4c 0af7dd01-cd1c-485d-bb48-7edfacf86a80

 

อีกรูปแบบของการให้บริการทางการเกษตรของญ่ปุ่น โมเดลนี้เป็นการทำงานร่วมกันของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีทางการเกษตร คือ NARO(National Agriculture and Bio-technology Research Organization) ของกระทรวงเกษตรญี่ปุ่น (MAFF) โดยสถานีทดลอง Memuru ที่เมือง Ohibiro, Hokkaido กับ บริษัทเอกชนที่ทำด้านเทคโนโลยีชั้นสูงคือ IHI ร่วมกับสหกรณ์การเกษตรของญี่ปุ่น คือ JA จับมือกันสร้างระบบบริการข้อมูลทางการเกษตรให้เกษตรกรใน Tokaji Food Valley โดยสถานีวิจัยมีหน้าที่พัฒนาพันธุ์ที่เหมาะสม ได้แก่พันธุ์ข้าวสาลีฤดูหนาวสำหรับส่งโรงงานทำแป้งขนมปัง พัฒนาพันธุ์มันฝรั่งเพื่อการแปรรูปร่วมกับบริษัทเอกชน ในขณะที่เอกชนด้านเทคโนโลยีติดตั้งเซนต์เซอร์ ที่ตรวจวัดสภาพอากาศ ความชื้นดิน และวิเคราะห์ข้อมูลส่งให้เกษตรกร ให้บริการใช้ drone และกล้อง multi-spectrum ในการบินถ่ายภาพดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหาร เพื่อบริการข้อมูลนี้สู่เกษตรกรในการใส่ปุ๋ยได้ถูกชนิด ในปริมาณที่ขาดในแต่ละพื้นที่ การร่วมกันทำงานเพื่อเกษตรกรแบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยีนี้ เกษตรกรจ่ายค่าบริการซึ่งรวมอยู่ในค่าสมาชิกของสหกรณ์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจในการนำมาใช้ในบ้านเรา เนคเทคกับ AIT โดยความช่วยเหลือจากนักวิจัย U. of Tokyo ได้พยายามลองทำต้นแบบในประเทศไทยที่ จ.สระบุรี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เหลียวมองคนอื่น…

kubota sf 8d89521e-29f1-4de7-b420-9ea47633f745 fd4c7cae-dfc4-47fd-88c3-e736282cce6e

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วันนี้นำเสนอเทคโนโลยี Precision Agriculture แบบเต็มรูปแบบจากบริษัท Kubota ประเทศญี่ปุ่น Kubota ได้ออกแบบระบบการบริการทางการเกษตรที่เรียกว่า KSAS (Kubota Smart Agriculture System) เป็นต้นแบบ services innovation ด้านการเกษตรที่น่าสนใจ โดยเน้นการพัฒนาเครื่องเกี่ยวข้าวที่ติดตั้งเซนต์เซอร์ ที่สามารถตรวจวัดปริมาณโปรตีนที่อยู่ในเมล็ดข้าวได้ เรียกว่า Taste sensor ซึ่งเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จในแต่ละแปลงก็มีข้อมูลผลผลิตต่อพื้นที่และปริมาณโปรตีนที่นำมาวิเคราะห์ว่า ถ้าแปลงดังกล่าวปริมาณโปรตีนยังต่ำ ในการไถพรวนพื้นที่ครั้งต่อไป จะมีการใส่ปุ๋ยลงในพื้นที่นั้นพร้อมการปลูกในปริมาณที่ขาด เพื่อทำให้ผลผลิตและปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้นเท่ากับแปลงที่มีคุณภาพดีแปลงอื่นๆ ซึ่งในที่สุดจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี สม่ำเสมอกัน ทั้งพื้นที่

 

เรื่อง…มันๆ

ความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชของบ้านเรา เป็นทรัพย์สินที่ต้องเรียนรู้และต่อยอดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เราจะเชื่อมต่อภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากชุมชนสู่ความเป็นสากล ที่ไม่ทำลายทัพยากรและสิ่งแวดล้อมดั่งในอดีตอย่างไร

dsc01539.jpg dsc01537.jpg

 

 

 

 

 

 

 

บ้านเรามี “มัน” ที่น่าสนใจหลายชนิด ที่มีคุณค่าทางอาหาร สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด

dsc01556.jpg

dsc01560.jpg

 

 

 

 

 

 

และที่น่าสนใจมากขึ้นไปอีกคือ ในขณะที่นักวิชาการประชุมกันในห้องแอร์ ชาวบ้านก็ประชุมกันในเต้นท์เพื่อร่วมกันเรียนรู้และแบ่งปันความรู้เรื่องการแปรรูป “มัน” พื้นบ้านไปเป็นแป้ง และอาหารประเภทต่างๆ

……คนกรุงเดินซื้อมันญี่ปุ่น วันหนึ่งจะรู้ไหมว่ามันที่กำลังจะซื้ออาจมีที่มาจากประเทศตัวเอง…

 

 

โอกาส..บนความหลากหลาย

dsc01525.jpgdsc01515.jpgdsc01511.jpgdsc01513.jpg

 

 

 

จากงาน “ทรัพยากรไทย: หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน” ได้พบและเรียนรู้เรื่องความหลากหลายของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองอิสาน การรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อร่วมกันเรียนรู้และแบ่งปัน ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายชุมชน แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากภายนอก นำไปสู่การคัดเลือก พันธุ์ข้าวที่มีความพิเศษในองค์ประกอบ พัฒนาตลาดเป็นข้าวที่เหมาะกับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มต้องการเสริมโปรตีน เป็นต้น

ทีมงานกำลังประสานกับกลุ่มจาก จ.ยโสธรนี้ เพื่อนำระบบตรวจประเมินมาตรฐานการผลิตแบบอินทรีย์และไม่อินทรีย์ ไปช่วยให้กลุ่มในการตรวจประเมิน GAP กลุ่ม ร่วมกับผู้ซื้อและผู้ส่งออกในระยะต่อไป อนึ่งการทำ passport data ของพันธุ์ข้าวท้องถิ่น เป็นฐานทรัพยากร ที่นำมาใช้ประโยชน์ต่อยอดได้จริง เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทาง Smart AG ต้องไปช่วยดำเนินการ

dsc01521.jpg dsc01522.jpg