ไอทีการเกษตรในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ( IT for Agriculture)

Smart Farm ร่วมกับสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการประชุม เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตร (IT for Agriculture) ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2553ซึ่ง Smart Farm ได้จัดกลุ่มความร่วมมือด้านคุณภาพมาตรฐานไปร่วมในเวทีเสวนาเรื่องสารสนเทศกับมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร ที่มี มกอช. เครือเบทาโกร และสถาบันรหัสสากล (GS 1) ในฐานะสมาชิกกลุ่มเป็นผู้ร่วมรายการ และในวันที่ 12 กลุ่มความร่วมมือด้านคุณภาพมาตรฐานได้จัดเสวนาเรื่องผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปกับการผลิตทางการเกษตร โดยสมาชิกกลุ่มประกอบด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา สทอภ. และนักวิจัยเนคเทคร่วมเสวนา

ในการร่วมงานดังกล่าวมุ่งเน้นการทำประชาสัมพันธุ์งานและการทำงานของกลุ่มความร่วมมือโดยเฉพาะกลุ่มความร่วมมือด้านการจัดการความรู้ได้จัดให้มีการลงนามความร่วมมือระหว่าง 10 หน่วยงานที่เป็นผู้พัฒนาข้อมูล เพื่อร่วมกันพัฒนาสาะการเกษตร จากความร่วมมือนี้นำไปเชื่อมกับการจัดตั้งคณกรรมการมาตรฐานข้อมูลการเกษตรแห่งชาติต่อไป อนึ่งในช่วงท้ายของการประชุมได้เปิดเวทีร่วมกันเสนอข้อเสนอแนะในความร่วมมือกันนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้งานจริง ซึ่งมีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจพร้อมผู้ที่จะร่วมเครือข่าย (รายละเอียดในภาคผนวก)

6. สรุปผลการทำงานของ Smart Farm

6.1 สรุปผลที่ได้รับจากการระดมความคิดเห็น

ข้อมูลที่ได้รับจากการระดมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาคเกษตร และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรในทุกครั้ง สามารถสรุปเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการเกษตรในภาพรวมดังต่อไปนี้

 

ด้านการผลิต

ประเด็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยการผลิตในภาคเกษตรซึ่งผู้เชี่ยวชาญภาคเกษตรให้ความสำคัญ เช่น place of origin, การวัดปริมาณผลผลิตและการคาดคะเนผลผลิต โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยพัฒนาระบบข้อมูลและการใช้ประโยชน์ คือ

  • ICT for Farm Management เช่น Ubiquitous sensors network, Farm robotics, Geo spatial system, Production model, Precision Farming, Embedded system
  • ICT for GAP(Good Agriculture Practices) เช่น Ubiquitous sensors network, Geo spatial system

 

เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยสนับสนุนดำเนินการของกลุ่มความร่วมมือ ดังนี้

  • Prediction Model การระบาดของศัตรูพืช (เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล) เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มความ
    ร่วมมือ (SIG) ด้านการผลิตทางการเกษตร ที่มีกรมการข้าวเป็นหน่วยงานหลัก กลุ่มทำงานประกอบ ด้วยเนคเทค กรมอุตุนิยมวิทยา กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ซึ่งจะเป็นงานที่สอดคล้องกับการทำงานด้านมาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ หรือ TH e-GIF 4

     

  • คณะทำงานยุทธศาสตร์ข้อมูลงานวิจัยข้าวของประเทศ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือเบื้องต้นระหว่างเนคเทคกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสู่กระบวนการผลิตข้าว โดยมีความเห็นร่วมกันว่า สิ่งที่ต้องทำก่อนคือการทำ stock taking งานวิจัยข้าวของประเทศทั้งหมดก่อน เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ทิศทางงานวิจัยข้าวของประเทศและการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยที่ตรงปัญหา หลังจากนั้นจึงขยายความร่วมมือไปสู่หน่วยงานให้ทุนสนับสนุนการวิจัยอื่น ได้แก่ สำนักงานกองทุนวิจัยการเกษตรแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยมีกรมการข้าวร่วมทำงานด้วย การเกิดของคณะทำงานดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในกลุ่มความร่วมมือ (SIG) ด้านการผลิตทางการเกษตร เช่นกัน

ด้านคุณภาพมาตรฐานการผลิตและสินค้า

ประเด็นที่นำไปสู่การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านนี้ประกอบด้วย มุมมองด้าน Value Preposition ของสินค้า การสร้าง brandและตลาดเฉพาะ การขายคุณภาพสินค้าพร้อมเรื่องราว เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนที่ได้จากการระดมความคิดเห็น เริ่มจากความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องมีมาตรฐานข้อมูลการเกษตรแห่งชาติ ที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ในประเด็นนี้ Smart Farm โดยกลุ่มความร่วมมือ(SIG) ด้านคุณภาพมาตรฐานที่มีสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.)เป็นแกนนำ ร่วมกับ U-Know Center มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการมาตรฐานข้อมูลการเกษตรแห่งชาติ ที่มีปลัดกระทรวงเกษตรเป็นประธาน และคณะกรรมการประกอบด้วยหน่วยงานที่ต้องดูแลรหัสมาตรฐานสินค้าเกษตรแต่ละประเภทร่วมทำงานให้ได้มาตรฐานข้อมูลสินค้าเกษตรของประเทศ
โดยมีเนคเทคทำหน้าที่เป็นเลขานุการ เทคโนโลยีสารสนเทศในกลุ่มนี้ประกอบด้วย

  • National ID for Agricultural Productsโดยโครงการ TH e-GIF 4 รับหน้าที่ทำ Data standardization และ Data integration ในกลุ่มนำร่องคือ เรื่อง Prediction model การระบาดของศัตรูพืช และกลุ่ม Traceability นำร่องเรื่องปลานิล
  • ICT for Traceability ประกอบด้วย มาตรฐานรหัสสากล(GS 1), GLN, Geo spatial analysis
  • e-Certification
  • RFID/Bar code tag for logistics and supply chain
  • Sensors for storage condition
  • Sensor for freshness measure
  • Smart packaging for spoilage identification

เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยสนับสนุนดำเนินการของกลุ่มความร่วมมือ ดังนี้

  • คณะกรรมการมาตรฐานข้อมูลการเกษตรแห่งชาติ ที่ทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานข้อมูลการเกษตร และรหัสมาตรฐานสินค้าเกษตร ที่มีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน และเนคเทคทำหน้าที่เป็นเลขานุการ
  • คณะทำงานด้าน Geo spatial engines และ Geo data standard มี สทอภ.เป็นหน่วยงานหลัก
  • โครงการนำร่อง Traceability กล้วยไม้(สกุลหวาย) กับกลุ่มกล้วยไม้ราชบุรี ปลานิลกับกรมประมง ข้าวหอมมะลิอินทรีย์กับกรมการข้าว และไหมกับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

ด้านการจัดการความเสี่ยงทางการเกษตร

เน้นประเด็นหลักเรื่อง การปรับตัวของภาคการผลิตทางการเกษตรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Predictive model ด้าน model การระบาดของศัตรูพืช กลุ่มความร่วมมือ(SIG)ด้านการจัดการความเสี่ยง มี CCKM และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานหลัก โดยเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ประกอบด้วย

  • Geo spatial engines
  • Predictive model

เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยสนับสนุนดำเนินการของ

  • คณะทำงานด้าน Geo spatial engines ที่มี สทอภ.เป็นหน่วยงานหลัก
  • คณะทำงานมาตรฐานข้อมูล GIS ที่มี สทอภ.เป็นหน่วยงานหลัก
  • สนับสนุนโครงการ Prediction model เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่มีกรมการข้าวเป็นหน่วยงานหลัก

ด้านการจัดการและการส่งผ่านความรู้ทางการเกษตร

เป็นพื้นฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ประเทศไทยยังขาดข้อมูลที่พร้อมใช้งานและระบบการนำส่งข้อมูลที่ดีสู่ผู้ต้องการใช้ข้อมูลปลายทาง (last mile) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลการเกษตรนั้นมีความหลากหลายในด้านแหล่งผลิตและการใช้งาน ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญของการทำงานแบบ Co-creation ซึ่งอาจเป็นการหล่อหลอมความรู้ทางการเกษตรทางด้านวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน และความรู้ที่เป็นสากล ระบบการนำเขาและบันทึกข้อมูลจากไร่นา และเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ของสินค้า วัฒนธรรมและประเพณีของแหล่งผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำเสนอในเวทีสัมมนาประกอบด้วย

  • ระบบ Ontology โดยเริ่มจาก Ontology ข้าวเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ข้อมูลงานวิจัยข้าว และการทำ Ontology กล้วยไม้เพื่อสนับสนุนงาน Knowledge portal กล้วยไม้
  • Semantic web ทางการเกษตร
  • Mobile devices เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกหยิบยกมาเป็นตัวอย่างของเครื่องมือที่น่าจะมีความเป็นไปได้มากเทคโนโลยีหนึ่งในการนำสาระความรู้ทางการเกษตรไปสู่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม หรือ On-demand ในอนาคต
  • Social network ทางการเกษตร เป็น wen connectivity ระหว่างเรื่องราวของผู้ผลิตกับผู้บริโภค

สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นต่อการบริการทางการเกษตร ประกอบด้วย

  • ระบบ Farm Information Services/Agro Cyber Brain
  • Location Based Services
  • TV and Cell phone advertising
  • e-Commerce

6.2 สรุปผลการดำเนินงานของกลุ่ม Smart Farm

Smart Farm ในฐานะเป็นผู้ประสานการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเกษตรของประเทศในหลายมิติ ประกอบกับการทำงานที่เข้มข้นของกลุ่มความร่วมมือด้านต่างๆ นั้น สามารถสร้างความต่อเนื่องที่สำคัญต่อวงการเกษตรไทย ดังต่อไปนี้

  1. ข้อมูลสำหรับการเขียนเอกสาร White Paper การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเกษตร ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ ICT 2020 ในส่วนของ Stronger Economy (เอกสารฉบับนี้)
  2. ข้อมูลข้อเสนอแนะของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเกษตร ที่ใช้ในการทำแผนที่นำทาง (Roadmap) ของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศกับการเกษตรขององค์กร และเป็นแนวทางให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศระดับกระทรวงฯและเข้าสู่เกษตรกรให้ทั่วถึง ตามแนวนโยบายปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ (เอกสารฉบับนี้)
  3. ยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวของประเทศ เนื่องจากข้าวเป็นทั้งพืชอาหารและพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศมีประชากรที่ต้องเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตข้าวมากที่สุดเมื่อเทียบกับพืชเศรษฐกิจอื่นๆ Smart Farm จึงได้หารือร่วมกับ สกว.เพื่อหาแนวทางทำงานร่วมกันและเป็นที่มาของการตั้งกลุ่มทำงานยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวของประเทศ( ) โดย สวก. วช. กรมการข้าว และ Cluster อาหารและเกษตร สวทช. ร่วมกันเพื่อทำ stock taking งานวิจัยข้าวของประเทศบน supply chain เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อนและความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาข้าวไทยให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและสามารถสู้กับตลาดโลกได้อย่างมั่นคง โดยที่หน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยพร้อมที่จะให้ทุนเป็นลำดับต้น ถ้าหากในอนาคตมีนักวิจัยเสนอโครงการในทิศทางที่สอดคล้อง
  4. คณะกรรมการมาตรฐานข้อมูลการเกษตรแห่งชาติ เกิดจากเวทีสัมมนา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการพัฒนาการเกษตร ในระยะปี 2554-2563 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 ซึ่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับให้ที่ประชุมจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าว เพื่อดำเนินงานจัดทำมาตรฐานข้อมูลสินค้าเกษตรของประเทศและสามารถอ้างอิงกับสากล โดยท่านปลัดกระทรวงเกษตรฯจะเป็นประธาน การเกิดคณะกรรมการฯนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับอนาคตการทำธุรกิจการเกษตรที่ต้องการการอ้างอิงรหัสและมาตรฐานต่างๆ ตลอดจนเป็นการทำให้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลของกระทรวงเกษตรฯมีความเป็นไปได้มากขึ้น(คำสั้งแต่งตั้งคณะกรรมการฯตามเอกสารแนบ)
  5. การร่วมงานในโครงการ TH e-GIF 4 ที่กลุ่มความร่วมมือด้านคุณภาพมาตรฐานการผลิตและสินค้า มาร่วมทำ business scenario เรื่อง Traceability โดยใช้ปลาน้ำจืดเป็นกรณีศึกษา ทั้งนี้กรมประมงได้ให้การสนับสนุนเชิงนโยบายจากท่านรองอธิบดีกรมประมง เมื่อวันที่ นอกจากนี้กลุ่มการผลิตและกลุ่มการจัดการความเสี่ยง ยังช่วยทำ business scenario เรื่องเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยมีนักวิจัยกรมการข้าวเป็นแกนหลักในการให้ข้อมูล(รายละเอียดตามเอกสารแนบ)
  6. คณะทำงานด้าน Geo spatial engines ซึ่งเกิดจากเวทีสัมมนา Smart Services เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2553 โดยมีเป้าหมายที่จะทำระบบกลางสำหรับการให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่ในประเทศ หรือ Location based servicesและคณะกรรมการมาตรฐานข้อมูล Geo spatial ที่ทาง สทอภ.ได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว
  7. นำเสนอเครื่องหมายปรัชญานำทางของ Smart Farm ที่เน้นปัจจัยหลักในการปฏิบัติงานของ Smart Farm ได้แก่

เครื่องหมาย ความหมาย
re-(mind)set การเริ่มทำงานด้วยการ reset mindset ของบุคลากรในโครงการ
co-creation ให้ความสำคัญของการร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อบรรลุเป้าประสงค์เดียวกัน
value proposition การให้ความสำคัญของเพิ่มมูลค่าของสิ่งที่ศึกษา
scalability การขยายผลไปสู่การปฏิบัติ อย่างชัดเจน

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการพัฒนาการเกษตร ในระยะปี 2554-2563

จากผลการสัมมนาSmart Farm ครั้งที่ 1 และการร่วมทำงานกับกลุ่มความร่วมมือต่างๆ ตลอดระยะเวลากว่า 5 เดือน ทำให้ได้ประเด็นปัญหาจากความเห็นพ้องของผู้เชี่ยวชาญภาคเกษตรในแง่มุมต่างๆ
นำมาสู่การกำหนดเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา เนคเทคจึงได้จัดการระดมความคิดเห็นต่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการพัฒนาการเกษตร ในระยะปี 2554-2563 หรือ IT for Agriculture Foresight ในวันที่ 10 พฤษภาคม และ 9 มิถุนายน 2553 โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่

  1. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำ White Paper เกี่ยวกับแนวทาง
    การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการพัฒนา
    การเกษตร ใน 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2554-2563)
  2. เพื่อรวบรวมข้อมูลประกอบการจัดทำ Technology Roadmap
    ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับภาคการเกษตร
    ของประเทศ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2554-2556)
  3. เพื่อรวบรวมข้อมูลประกอบการจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระยะ พ.ศ. 2554-2563

ผู้เข้าร่วมเวทีระดมสมองประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางการเกษตร (คัดเลือกจากกลุ่ม SIG ทางการเกษตร) และผู้มีประสบการณ์ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเกษตร จำนวนประมาณ 40 ท่าน โดยแบ่งหัวข้อในการระดมความคิดเห็นออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การผลิต 2) คุณภาพมาตรฐานการผลิตและสินค้า 3) การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเกษตร และ 4) การบริหารจัดการความรู้ทางการเกษตร

ในการระดมความคิดเห็นครั้งนี้ นายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ปกษ.)ได้เข้าร่วมเพื่อรับฟังและให้นโยบาย ตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาด้านการเกษตร ทั้งนี้ ปกษ. ได้มอบหมายให้กลุ่มสัมมนาทำการยกร่างคณะกรรมการมาตรฐานข้อมูลการเกษตรแห่งชาติ เพื่อให้ ปกษ. ลงนาม
แต่งตั้งและช่วยผลักดันให้เกิดการปฏิบัติจริงต่อไป

ประเด็นที่ได้จากการประชุม

สรุปประเด็นสำคัญจากการระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในประเด็นปัญหาภาคเกษตรดังนี้

  • การผลิตทางการเกษตร

ภาครัฐควรสนับสนุนนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่อง อาจใช้กลไกของสภาเกษตรกรที่จะเกิดในอนาคต ซึ่งเกษตรกรสามารถเข้ามามีส่วนในการกำหนดนโยบายมากขึ้นได้โดยใช้ IT เป็นเครื่องมือ การวิจัยและพัฒนาเป็นเรื่องสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ในด้าน IT ประเทศไทยควรทุ่มเทในการทำวิจัยและพัฒนาแบบก้าวกระโดดเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตไม่ควรไล่ตามพัฒนาเทคโนโลยีของต่างประเทศในปัจจุบันเพราะกว่าประเทศไทยจะทำได้ ก็มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม การพัฒนา IT ให้กับเกษตรกรใช้ ต้องเน้นในเรื่องของการใช้งานง่าย สะดวก ควรมีการทำวิจัยตลาด/ลูกค้าก่อนพัฒนาสินค้า นักวิจัยต้องเป็น economist และ marketer มุ่งเน้น “user centric” การสื่อข้อมูลหรือการสร้างองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรเป็นเรื่องสำคัญ ช่องทางการสื่อสารต้องแพร่หลาย สะดวกและใช้งานง่าย องค์ความรู้เพื่อการแข่งขันในอนาคตต้องมีพลวัตรที่เหมาะสมกับเวลา/ สถานการณ์ มิฉะนั้นอาจล้าสมัยได้ ดังนั้น องค์ความรู้ต้องผ่านการวิจัยและพัฒนาจึงจะสามารถได้ความรู้ที่เหมาะกับอนาคต และประเทศไทยอาจต้องหันมาทบทวนเรื่องการทดลองพืช GMOs เพื่อหากมีการยอมรับจากทั่วโลก ประเทศไทยจะได้ไม่ตกขบวนรถ ในอนาคตจากอิทธิผลของ climate change ที่ทำให้ฤดูกาลผันแปร กระทบโดยตรงต่อการทำเกษตรของประเทศไทย เพราะเราอิงธรรมชาติมากเกินไป การบริหารจัดการน้ำรวมถึงการใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเร่งด่วน นอกจากนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย แรงงานเกษตรมีผู้สูงอายุมากขึ้น ต้องเน้นที่การสร้างยุวเกษตรกร ต้องเพิ่มความรู้ด้าน ICT เกษตรกรรุ่นใหม่ต้องเป็นเจ้าของกิจการได้เอง และเครือข่ายสถาบันการศึกษาต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

  • คุณภาพมาตรฐานการผลิตและสินค้า

ในประเด็นนี้ผู้เชี่ยวชาญต่างให้ความสำคัญกับการสร้างตราสินค้าไทย (brand) และความน่าเชื่อถือ (trust) มากที่สุด โดยใช้มาตรฐานสากลเป็นตัวกำหนดคุณภาพสินค้า การทำ traceability เป็นสิ่งจำเป็น นำ IT มาช่วยในการสร้าง story เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ การใช้เป็นประโยชน์จาก social network เป็นสื่อโฆษณาอันทรงพลังในการสร้าง Brand และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และเมื่อนำ technology มาช่วยในการสืบย้อนกลับก็ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าได้ การผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต ซึ่งต้องการAutomation system/ robotic (องค์ความรู้ทางการผลิต, ระบบ monitoring/ warning, ระบบควบคุม) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องคน และ Automate farming system การจัดการผลผลิต ต้องทำให้ผลผลิตมีคุณสมบัติสม่ำเสมอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ดังนั้น weather warning system (เช่น การวัดความชื้น อุณหภูมิ) ก็มีความสำคัญเช่นกัน ในส่วนของกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ บทบาทของภาครัฐ 1) ดูแลความปลอดภัยผู้บริโภค require ability to identity problem, route, safety 2) ระบบกลางที่มีข้อมูลตาม value chain 3) ช่วยเหลือ SMEs ให้สามารถทำ traceability ได้ ทั้งนี้ ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญ ต้องมีมาตรฐานและเชื่อมโยงกันได้ ต้องเร่งให้เกิด center of information และต้องมีการเก็บบันทึกข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วย

  • การจัดการความเสี่ยงทางการเกษตร

ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องกันว่าความเสี่ยงในภาคเกษตรมีหลายประเภท ทั้งที่ควบคุมได้ เช่น แรงงาน ราคาสินค้า หรือความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ภัยธรรมชาติ และโรคระบาด ซึ่งการติดตามเฝ้าระวังความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับภาพใหญ่ใน scale ระดับภาค แต่ควรต้องติดตามถึงระดับชุมชน สำหรับความเสี่ยงด้านแรงงานเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีผู้สูงอายุมากขึ้น จะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงและใช้ IT ของเกษตรกร ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพของแรงงานภาคเกษตรให้เป็นแรงงานทักษะสูง อย่างไรก็ตามต้องเร่งสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ต้องใช้การศึกษาขับเคลื่อนการพัฒนาคน นอกจากนี้ ในปี 2015 เมื่อประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านจะไหลบ่าเข้ามาทดแทนแรงงานไทยที่ไหลออกจากภาคเกษตร ขณะเดียวกันประเทศไทยจะพัฒนาเกษตรกร เยาวชน เข้าไปในประชาคมอาเซียนได้อย่างไร การเฝ้าระวังและพัฒนาพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์พื้นเมืองที่ดีของไทยเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างจริงจังและเร่งด่วน

  • การจัดการความรู้ทางการเกษตร

องค์ความรู้ด้านเกษตรของไทยมีกระจายอยู่ในหลายแหล่ง มีต้นแบบมากมายทั้งในปราชญ์ชาวบ้าน และชุมชนต้นแบบในหลายพื้นที่ องค์ความรู้เหล่านี้เป็น mindset ของชุมชน และเป็นของคนคนนั้น เมื่อเกษตรกรนำวิธีของปราชญ์ชาวบ้านไปทำ มักไม่ได้ผลสำเร็จแบบเดียวกัน ดังนั้น ต้องมีคนถอดรหัสองค์ความรู้ ตรรก วิธีคิดของปราชญ์ชาวบ้าน แปลงเป็น model และต้องแปลความ เพราะเรื่องของประสบการณ์ และความชำนาญ ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรไม่ได้ ต้องหาวิธีการให้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เท่าทันสิ่งรอบตัวที่เปลี่ยนแปลงจะเป็นการดีที่สุด ต้องทำให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ต่างๆ ได้โดยง่าย สามารถค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ในระดับชุมชน มีการจัดหมวดหมู่ความรู้ เน้นการเชื่อมต่อข้อมูลใน supply chain ภาคเกษตร และต้องจัดทำมาตรฐานข้อมูลการเกษตรแห่งชาติ เทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรต้องเข้าถึง last mileได้ ใช้ IT ลด Information literacy และเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ผ่าน mobile devices ใช้ IT สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะ การจ้างงานในชุมชน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับกลุ่มเกษตรกร

 

Smart Services

Smart Services ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2553 ถือเป็นงานที่สำคัญเนื่องจากเป็นหนึ่งใน Flagship ของเนคเทค ที่ปรากฏอยู่ในแผนปฏิบัติการของเนคเทค วัตถุประสงค์ในการจัดสัมมนาก็เพื่อจัดทำ Roadmap ของ Serviceการบริการสุขภาพ การท่องเที่ยว การศึกษา และการเกษตร (ภาพที่ 3-2) สำหรับ Serviceด้านการเกษตรนั้น กลุ่มความร่วมมือ (SIG) ทางด้านการจัดการความเสี่ยงทางการเกษตร โดย สทอภ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มกอช. CP, ACTI ต่างก็ให้ความสำคัญกับ Geo spatial engines เพื่อสร้าง platform ของ Location Based services ของประเทศ ทั้งนี้ สทอภ. ก็ได้จัดตั้งคณะทำงาน Geo spatial
ภายใต้คณะกรรมการบริหารของ สทอภ. (ซึ่งเกิดขึ้นจากผลของการสัมมนา Smart Farm ครั้งที่ 1) เพื่อทำหน้าที่เรื่องการสนับสนุนการผลิตทางการเกษตรต่อไป (ภาพที่ 3-3)

 

ภาพที่ 3-2 Smart Services Framework

 

ภาพที่ 3-3 ประเด็นสำคัญของ Smart Service ด้านการเกษตร

 

โดยผลสรุปจากการประชุม Smart Service ด้านการเกษตรครั้งนี้ปรากฎดังตาราง

 

Research Domain (1-5 Years) 2553-2557
Users Target : เกษตรกร ex. การทำ Weather Forecasting
Data Standard & Integration Geospatial data Standardization, Farmer ID, Land ID
Core Technology IT enabling Smart Services, Knowledge Sharing, Smart Card, Intelligent Sensor for Pest Recognition
Solution (Product / Application / Services) Value Chain (Up-stream, Mid-stream, Down-stream), Food safety, Environment, On demand information , Market assessment, Process of Services,ขจัดศัตรูพืชเพื่อลดความสูญเสียและความเสี่ยง
Characteristics Technologies + Services Productivity increasing, income increasing, Co-create
Partnership รัฐ Invest Content, กระทรวงต่างๆ, IT Sectors, International Expert, อบต., กรมพัฒนาที่ดิน, กรมเศรษฐกิจการเกษตร, มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น ม.ขอนแก่น ม. เชียงใหม่

 

SIGs

Smart Farm Working Group

การสัมมนาครั้งแรกของ Smart Farm เป็นความต่อเนื่องจากเวที SRII:Thailand Chapter ในการสัมมนา Smart Farm Working Group ครั้งที่ 1: ช่วยคิด ช่วยทำ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 จึงแบ่งกลุ่มสัมมนาจากการตั้ง SIG 4กลุ่มด้วยกัน คือ

  • กลุ่มการผลิตทางการเกษตร โดย คุณสุขวัฒน์ จัทรปรรณิก อดีตรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธาน
  • กลุ่มด้านคุณภาพมาตรฐานการผลิตและสินค้า
    โดยคุณนิกร เนื่องจำนงค์ ผู้อำนวยการ เครือเบทาโกร เป็นประธาน
  • กลุ่มด้านการจัดการความเสี่ยงทางการเกษตร โดย ดร.อานนท์ สนิทวงส์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประธาน
  • กลุ่มด้านการจัดการความรู้ทางการเกษตร โดย คุณนายเกรียงไกร คะนองเดชชาติ ที่ปรึกษากรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธาน

การสัมมนาในครั้งนี้ต้องการวิเคราะห์ถึงปัญหาในปัจจุบันของการเกษตรแต่ละกลุ่ม ตลอดจนแนวคิดในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ ผลพลอยได้จากการประชุมครั้งนี้คือการรวมกลุ่มของบุคลากรแต่ละสาขาในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ โดยมิได้ยึดติดกับกรอบงานและนโยบาย ซึ่งนำมาสู่บริบทของ Smart Farm ในปัจจุบัน ผลสรุปที่ได้รับจากการสัมมนาครั้งนี้เป็นดังนี้

กลุ่มที่ 1: การผลิต/ การตลาด

  1. ประเด็นปัญหา/ ความต้องการ
  • ฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ครบถ้วนตั้งแต่ภาคการผลิตถึงตลาด ระบบประมวลผลเพื่อ
    คาดการณ์ภูมิอากาศ ศัตรูพืช ธาตุอาหารพืช เพื่อให้เกิดผลิตภาพการผลิต ผลผลิตมีคุณภาพสม่ำเสมอตลอดทั้งปี จนถึง Smart Farm
  • อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพดินฟ้าอากาศ
  • เกษตรกรสามารถขายสินค้าอย่างเป็นธรรม
  • ฐานข้อมูลเกษตกร Contract farming เพื่อนำมาวิเคราะห์ความต้องการของตลาด (ปัจจุบันการแข่งขันสูงมาก)
  • ระบบวางแผนการเพาะปลูกเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ว่าควรปลูกพืชอะไร เมื่อไร  การคาดการณ์ตลาดในอนาคต (เพื่อไม่ให้เกิดภาวะสินค้าเกษตรล้นตลาด และราคาตกต่ำลง)
  • หน่วยงานที่ควบคุมการผลิตสินค้าการเกษตรแต่ละชนิด (โควต้าเพาะปลูก ปัจจุบันทำได้ในเฉพาะอ้อย) หรือลงทะเบียนโควต้าการซื้อเมล็ดพันธุ์ เพื่อป้องกันภาวะสินค้าการเกษตรล้นตลาด
  • ฐานข้อมูลที่มีในปัจจุบันไม่ update ควรนำ IT มาช่วย update ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วที่สุด
    โดยเกษตกรสามารถใส่ข้อมูลได้เอง รวมถึงข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมพัฒนาชุมชน
  • มาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
  • การบริหารจัดการโรคใหม่ๆ
  • เกษตกรสามารถเข้าถึงและเลือกสรรองค์ความรู้/เทคโนโลยี ทั้งใหม่และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสมกับตนเอง รวมถึงระบบรองรับและตอบสนองความต้องการงานวิจัยของเกษตรกรที่สามารถแก้ไขปัญหาได้
  1. โครงการนำร่องความร่วมมือในการทำงานระหว่างกัน
  • การทำแผนที่แหล่งข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเกษตร (ปริมาณการผลิต/ความต้องการของตลาด/ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศคู่แข่ง) เพื่อให้เกษตกรและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าถึงได้สะดวก เพื่อใช้ประกอบการตัดสินในเชิงนโยบาย การเลือกผลิตสินค้าเกษตรให้ตรงกับความต้องการของตลาด
  • การเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีระบบประมวลผลวิเคราะห์ใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการจัดการการผลิต เช่น การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ ศัตรูพืช ธาตุอาหารพืช เพื่อให้เกิดผลิตภาพการผลิต ผลผลิตมีคุณภาพสม่ำเสมอตลอดทั้งปี จนถึง Smart Farm
  • ฐานข้อมูลเทคโนโลยีการผลิตเฉพาะพื้นที่ ในเรื่องการผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการผลิตผลหลังเก็บเกี่ยว การแปรรูป และ Logistic สำหรับสินค้าเกษตรแต่ละชนิด
  • ระบบวางแผนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว การจัดการผลิตผลหลังเก็บเกี่ยว การแปรรูป และ Logistic ทั้งภายในประเทศต่างประเทศ เช่น พื้นที่นี้ (zoning) ควรปลูกพืชชนิดใด เมื่อไร  การคาดการณ์ตลาดในอนาคต (เพื่อไม่ให้เกิดภาวะสินค้าเกษตรล้นตลาด และราคาตกต่ำลง)
  • อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพดินฟ้าอากาศ การตรวจโรค การตรวจวัดสารพิษตกค้าง เป็นต้น เพื่อการพยากรณ์การระบาดของศัตรูพืช และการใช้เทคโนโลยีการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย (เช่น ถ้ารู้ว่าวันนี้ฝนตกจะได้ไม่ฉีดปุ๋ย/สารกำจัดศัตรูพืช)

 

กลุ่มที่ 2: คุณภาพมาตรฐาน

คำจำกัดความของ “คุณภาพมาตรฐาน”

  • คุณภาพ ในแง่ของธุรกิจ หมายถึง สิ่งที่ลูกค้าต้องการ และทำให้เหมาะสม
  • มาตรฐาน คือ มาตรฐานของประเทศ เป็นกลาง เชื่อมโยงกับมาตรฐานโลก (จะเป็นเรื่องการผลิต กระบวนการ หรือสินค้าก็ตาม) หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนกำหนดก็ได้ แต่ต้องเป็นที่ยอมรับ สำหรับประเทศไทย มกอช. มีการกำหนด 2 แบบ ได้แก่ มาตรฐานของสินค้า และ ขั้นตอนการผลิต ปัจจุบันมีการกำหนดมาตรฐานเหล่านี้ไว้แล้ว จะทำอย่างไรที่จะให้ Smart farm ไปสู่มาตรฐานในแง่ของธุรกิจ มาตรฐานมีหลายระดับขึ้นอยู่กับมุมมองของลูกค้า อย่างไรก็ตามควรต้องมีการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ
  1. ประเด็นปัญหา/ ความต้องการ
  • ด้านเทคโนโลยีและเครื่องมือ เช่น ขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ควบคุมคุณภาพผลผลิต ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพไม่คงที่ มีสารพิษและสารเคมีปนเปื้อน
  • GAP : กระบวนการตรวจวัดคุณภาพยังไม่ดีพอ, มาตรฐานการตรวจวัดที่ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง, บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีปริมาณไม่พอ
  • ด้านการลงทุน เช่น ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบรับรองสูง, เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีเงินลงทุนในระบบ traceability
  • ค่าใช้จ่ายและความสูญเสีย เช่น ค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวสูง, ผลผลิตที่ได้มีความสูญเสียมาก
  • การเข้าถึงข้อมูล เช่น เกษตรกรไม่ทราบแหล่งข้อมูล เข้าไม่ถึงแหล่งข้อมูลที่มีอยู่
  • อื่นๆ เช่น การกีดกันทางการค้า
  1. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแก้ไขปัญหา
  • ด้านเทคโนโลยีและเครื่องมือ ผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มนี้ต่างเห็นพ้องกันว่า
  • ควรสร้างเครื่องมือและอุปกรณ์ควบคุมคุณภาพผลผลิต ที่มีราคาถูก คุณภาพดี กระทัดรัด ใช้งานง่าย เชื่อถือได้
  • สร้างเครื่องมือที่เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและผู้รับซื้อ ต้องมีองค์กรกลางที่เป็นคนช่วยกำหนด
  • มีระบบเครือข่ายที่เป็นศูนย์กลางข้อมูล (Network Data Center)
  • สร้างองค์ความรู้
  • จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่ทั่วถึง
  • GAP
  • สร้าง Real-time system ช่วยในเรื่องการประมวลผลและตรวจรับรอง
  • สร้างระบบ GAP on-line ที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย
  • มีองค์กรกลางเพื่อเป็นเจ้าภาพ

 

โดยลำดับความต้องการของเครื่องมือเป็นดังนี้

  • ด้านปศุสัตว์
  • อุปกรณ์ควบคุมคุณภาพผลผลิต ที่มีราคาถูก คุณภาพดี กระทัดรัด ใช้งานง่าย เชื่อถือได้ (ในระดับที่เกตรกรเป็นผู้ใช้)
  • การออกแบบภาชนะ (Packaging Design)
  • ด้านการตรวจคุณภาพ
  • เครื่องตรวจวัดความชื้น
  • เครื่องตรวจวัดสิ่งเจือปน และสารตกค้าง
  • เครื่องมือคัดแยก
  • เครื่องมือที่เป็น all in one
  1. โครงการนำร่องความร่วมมือในการทำงานระหว่างกัน
  • โครงการตรวจสอบคุณภาพเนื้อสุกร พันธมิตรร่วมดำเนินการ เช่น จุฬาฯ, .เบทาโกร, เนคเทค และ กรมปศุสัตว์
  • โครงการสร้างระบบ GAP on-line (Real-time) ทั้งในส่วนของพืช สัตว์ และประมง พันธมิตรร่วมดำเนินการ เช่น มกอช., กรมวิชาการเกษตร, กรมส่งเสริมการเกษตร, กรมประมง, กรมปศุสัตว์, กรมข้าว และ เนคเทค
  • โครงการจัดทำฐานข้อมูลคุณภาพ พันธมิตรร่วมดำเนินการ มกอช., กรมวิชาการเกษตร, กรมส่งเสริมการเกษตร, กรมประมง, กรมปศุสัตว์, กรมข้าว และ เนคเทค
  • เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ โดยใช้ image processing วัดความสดของเนื้อ และเครื่องมือแบบ portable วัดสารเคมีตกค้าง พันธมิตรร่วมดำเนินการ เช่น กรมปศุสัตว์, กรมวิชาการเกษตร, เนคเทค
  • โครงการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ เช่น ผักปลอดสารพิษ และ ข้าว (Traceability) พันธมิตรร่วมดำเนินการ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร และเนคเทค

 

กลุ่มที่ 3: การเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ

โดย supply chain ด้านการเกษตรเป็นดังนี้

  1. ประเด็นปัญหา/ ความต้องการ
  • พันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์ ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ให้ได้พันธุ์ที่เหมาะสม วิธีการตรวจสอบภูมิอากาศ (พืช) ผลกระทบที่พันธุ์พืช/ สัตว์ ได้รับจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลาย/แหล่ง ของระบบนิเวศน์จะได้รับผลกระทบอย่างไร (stock) การคุ้มครองพันธุ์ รวมถึงฐานข้อมูลพันธุ์พืช/ สัตว์
  • การผลิต ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลภูมิสารสนเทศ ฐานความรู้เพื่อการผลิต (KM), local knowledge ผลกระทบจากกระบวนการผลิต (green house gas)/ น้ำ/ โรค/ แมลง/ พฤติกรรมของเกษตรกร แบบจำลอง (simulation modeling) การเปลี่ยนแปลงของผลผลิตเนื่องจากสภาพอากาศ ฤดูกาลผลิตที่ผันแปรไป ประสิทธิภาพหรือผลิตภาพการผลิต (productivity โดยพิจารณาจากYield ของผลผลิต)
  • การแปรรูป ได้แก่ Green supply chain ความปลอดภัย/ผลกระทบจากกระบวนการแปรรูป ค่าใช้จ่ายและความสูญเสีย เช่น ค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวสูง, ผลผลิตที่ได้มีความสูญเสียมาก รวมถึงการเข้าถึงข้อมูล เช่น เกษตรกรไม่ทราบแหล่งข้อมูล เข้าไม่ถึงแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ และอื่นๆ เช่น การกีดกันทางการค้า
  • การตลาด ได้แก่ ต้นทุน logistic การประเมิน/คาดการณ์ตลาด/นโยบายการตลาด การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค
  1. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแก้ไขปัญหา

ผลสรุปความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อประเด็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ การผลิต การแปรรูป และการตลาด และได้ทำการจัดลำดับความสำคัญ โดยหมายเลข 1 คือ เทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด รองลงมาเป็นหมายเลข 2 และ 3 ตามลำดับ รายละเอียดปรากฎดังตาราง

 

IT Rank พันธุ์ ผลิต แปรรูป ตลาด
DSS/BI/Database 1
Simulation 2
(econ mkt.)
KM 1
Logistic 2
IT Infrastructure 2
GI 1
Embedded system 2
IT enabling (support Nano, Bio) 2
iTH (3G, cloud) 1
Robotic 3
Sensor 1

 

  1. โครงการนำร่องความร่วมมือในการทำงานระหว่างกัน

ผลสรุปความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อการกำหนดโครงการนำร่องเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานพันธมิตร โดยกำหนดโครงการที่สอดคล้องกับ supply chain ด้านการปรับปรุงพันธุ์ การผลิต การแปรรูป และการตลาด ดังนี้

โครงการ พันธุ์ ผลิต แปรรูป ตลาด
1. Agricultural monitoring system (decision support system/ precision farming) BI, SIM, Embedded system

NECTEC, START, CMU, GISTDA, OAE, MU, CP, MP, MICT

   
2. โครงการประกันภัยพืชผล   IT enabling, GI

BAAC, NECTEC, CU, GISTDA, Rising

   
3.ระบบ Legal Change (compliance/มาตรฐานต่างๆ) KM

Cluster ICT, CCKM(CU)

4.GI for Prediction   GI

OAE, CMU, BOAC, TRF, MICT, GISTDA, Cluster ICT

Platform : GI, i-Thailand

Ready Tech : Embedded system, Sensors, Robotics

  1. Agricultural Monitoring System (prediction model, decision support system) เพื่อสนับสนุนการผลิตทางการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น BI, SIM, Embedded system หน่วยงานพันธมิตร เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (NECTEC) ศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCKM) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ (สทอภ.) อุตุนิยมวิทยา U-Know center: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CP group) มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) MP และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (MICT)
  2. โครงการ Knowledge portal เพื่อการประกันรายได้เกษตรกร เพื่อสนับสนุนการลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบ IT Enabling, Geo spatial system(Location Based Services), Knowledge portal หน่วยงานพันธมิตร เช่น NECTEC ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ (สทอภ.)
  3. ระบบ Legal change (compliance และมาตรฐานต่างๆ) เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น traceability เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น Knowledge engineering หน่วยงานพันธมิตร เช่น NECTEC มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ CCKM และ Cluster ICT
  4. ระบบ Geo spatial ด้าน Predictive analysis เพื่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่พร้อมด้วยระบบวิเคราะห์ และการทำนายผลผลิตล่วงหน้า หน่วยงานพันธมิตร เช่น สทอภ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ Cluster ICT

กลุ่มที่ 4: การจัดการความรู้

  1. ประเด็นปัญหา/ ความต้องการ
  • ระบบการจัดเก็บข้อมูล ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการเกษตรไม่มีการรวบรวมเป็นระบบ ปัญหาเรื่องระบบจัดเก็บข้อมูล เช่น ข้อมูลกระจัดกระจายแต่ไม่สามารถรวบรวมข้อมูลเป็นเอกภาพได้ ข้อมูลไม่ครบถ้วนและขาดการจัดการที่เป็นระบบ ขาด Central Knowledge Center สำหรับเกษตรกร ขาดองค์ความรู้ใหม่ที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ขาดหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางการประสานงานระหว่างผู้เชี่ยวชาญต่างๆ
  • ระบบบริหารหรือจัดการในการนำข้อมูลมาใช้อย่างเป็นระบบและมีการบูรณาการ ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ขาดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชาวบ้าน ขาดการบูรณาการความรู้ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเกษตรอย่างยั่งยืนและเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เกษตรกรขาดความเชื่อมโยงของข้อมูลที่ครบถ้วนและไม่สามารถวิเคราะห์/ สังเคราะห์ข้อมูลมาใช้ได้อย่างเต็มที่
  • ด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การขาดการเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ แก่เกษตรกรอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ การบริการของภาครัฐยังไม่สามารถเข้าถึงเกษตรกร และเกษตรกรก็ไม่สามารถเข้าถึงการบริการของภาครัฐ ความรู้และเทคโนโลยีที่เผยแพร่ ยังเป็นภาษาทางวิชาการที่เข้าใจได้ยาก
  • ขาดผู้เชี่ยวชาญ ขาดที่ปรึกษา ขาดระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือขาดแหล่งที่ให้คำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหากับเกษตรกร
  • ราคาและการตลาด ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การขาดความรู้ด้านการจัดการด้านการตลาดทำให้เสียเปรียบพ่อค้าคนกลาง โครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ในปัจจุบันไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียม รัฐบาลต้องสนับสนุนให้มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่เท่าเทียมและทั่วถึง
  • การเรียนรู้ ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การขาดกระบวนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมหรือองค์รวม เกษตรกรรายย่อยยังจำเป็นที่จะต้องพัฒนาความรู้ เพื่อจะนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Smart Farmer) ความรู้และเทคโนโลยีที่เผยแพร่ยังไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง (ไม่ Practical)
  1. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแก้ไขปัญหา
  • ฐานข้อมูล แนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น สร้างเว็บไซต์กลาง มีฐานข้อมูลด้านการเกษตร แบ่งหน้าที่ผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนและเชื่อมโยงกับเว็บอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • คลังข้อมูล (การบริหารข้อมูล) แนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น จัดการข้อมูลให้เป็นเอกภาพด้วยหน่วยงานเดียวและ เป็นที่ยอมรับ และเป็น Cluster เดียวกัน จัดทำต้นแบบ Template และใช้แบบ Open Source เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ จัดให้มีระบบและแบ่งความรับผิดชอบให้มีการตรวจสอบ หรือมีการใส่ข้อมูลลงในเว็บไซต์ ดูแลและ Update ให้รวดเร็ว แม่นยำ
  • ใช้ประโยชน์จาก Social Networking (Knowledge Base Society) ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ “ครูติดแผ่นดิน” (เกษตรผู้เชี่ยวชาญ) อ่าน Webblog เมื่อมีเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ ต้องมีการ Update โดยสามารถส่งข้อมูล Online มาที่ Center ได้ มีระบบเครือข่ายที่เข้าถึงทุกพื้นที่ รวมทั้งถิ่นทุรกันดาร เผยแพร่ความรู้ด้านการจัดทำ Intensive Form ให้แก่เกษตรกรรายย่อยซึ่งทำฟาร์มขนาดเล็ก
  • ระบบถามตอบ Q&A ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) แนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น ระบบแนะนำข้อมูลให้กับผู้ใช้ภายใต้ข้อมูลที่เป็นระบบแล้ว ระบบข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ โดยรวบรวมเป็น Cluster ที่มีประวัติรายชื่อที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้านให้เกษตรกรเข้าถึงได้ มี Blog ของผู้เชี่ยวชาญใน web พัฒนาสารสนเทศองค์ความรู้ด้านการเกษตร รวบรวมองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเกษตร
  • การแก้ปัญหาด้านการตลาด แนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น แสดงราคาสินค้าเกษตรที่เป็นปัจจุบันและ Update แบบ Real time ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรที่ update ใส่เว็บไซต์กลางการเรียนรู้ (ระบบ Learning)
  • การเรียนรู้ (ระบบ Learning) แนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น จัดทำ Media (Cd Learning) ทำ Distance Learning ทำ Webblog ครูติดแผ่นดิน ทำวิทยุ จัดรายการ

 

  1. โครงการนำร่องความร่วมมือในการทำงานระหว่างกัน
  • Smart Farm Website (คลังข้อมูลขนาดใหญ่) เพื่อแก้ไขปัญหา (1) ระบบการจัดเก็บข้อมูลจัดเก็บหลายหน่วยงาน กระจัดกระจาย (2) เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ (3) ขาดการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย โดยต้องจัดทำแผนดำเนินการภายใน 3-5 ปี และสามารถเผยแพร่เว็บไซต์ภายใน 1 ปี ใน Content ดังนี้

ข้าว , มันสำปะหลัง, อ้อย, น้ำตาล,ไม้ผลส่งออก

แหล่งผลิต, ความต้องการ (ตลาดล่วงหน้า), ราคา, การขนส่ง

  • สร้างความร่วมมือ โดยการสร้าง Cluster ภาครัฐ และเอกชน ได้แก่

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กระทรวงพาณิชย์

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

ศูนย์บริการพัฒนามนุษย์

สถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในระบบและนอกระบบ

สำนักงานมาตรฐานเพื่อส่งออก

สหกรณ์การเกษตร

หน่วยงานด้านการวิจัยต่างๆ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

  • ระบบบริหารจัดการ โดยควรเป็นองค์กรอิสระที่มีคณะกรรมการและคณะทำงาน ปฏิบัติหน้าที่โดยเฉพาะ

SRII: Thailand Chapter

SRII: Thailand Chapter

SRII หรือ Service Research & Innovation Institute เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นจากผู้ประกอบการธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น IBM, HP, Microsoft, SAP, Oracle, Wipro, Infosis เป็นต้น เพื่อสนับสนุน
การวิจัยและผลิตนวัตกรรมด้านการบริการของประเทศสมาชิก ทั้งนี้เพราะตระหนักถึงการบริการที่เป็นหัวใจของธุรกิจทั้งปวง โดยบริการ
ที่องค์กรนี้ให้ความสนใจได้แก่ Healthcare, energy, finance, telecom, government, education เป็นต้น สำหรับประเทศไทย
ได้จัดเวที SRII:Thailand Chapter วันที่ 14-15 ธันวาคม 2552

ในการสัมมนาดังกล่าวนี้เนคเทคได้แบ่งกลุ่มออกเป็น
4 ด้านด้วยกันคือ การเกษตร สุขภาพ การท่องเที่ยว และการศึกษา
ซึ่งทาง Smart Farm ทำหน้าที่เป็น facilitator ประจำกลุ่มการเกษตร
ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนด้านเกษตรเข้าร่วม

ผลจากการสัมมนากลุ่มการเกษตรมีข้อเสนอว่า เนื่องจากภาคเกษตรนั้นประกอบด้วยหน่วยงานและคนที่มาเกี่ยวข้องจำนวนมาก เห็นสมควรที่จะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยที่เรียกตาม SRII ว่า Special Interested Group หรือ SIG ประกอบด้วย

  • กลุ่มความร่วมมือ หรือ SIG ทางด้านการผลิต
  • กลุ่มความร่วมมือ หรือ SIG ทางด้านคุณภาพและมาตรฐานการผลิตและสินค้า
  • กลุ่มความร่วมมือ หรือ SIG ทางด้านการจัดการความเสี่ยงทางการเกษตร
  • กลุ่มความร่วมมือ หรือ SIG ทางด้านการจัดการและส่งผ่านความรู้
  • กลุ่มความร่วมมือ หรือ SIG ทางด้านมาตรฐานข้อมูล
  • กลุ่มความร่วมมือ หรือ SIG ทางด้านการขนส่งและการค้าสินค้าเกษตร

ซึ่งการตั้งกลุ่มความร่วมมือนี้เป็นจุดเริ่มของการทำงานต่อเนื่องของ Smart Farm ที่จะกล่าวต่อไป อนึ่งจากการประชุมผู้บริหารของ SRII เมื่อ เนคเทคโดยผู้อำนวยการศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้เสนอ ให้ SIG ด้านการกษตร เป็นหนึ่งใน SIG หลักของประเทศเนื่องจากยังไม่มีประเทศสมาชิกใดที่เสนอมุมมองการวิจัยการบริการด้านการเกษตรมาก่อน และจะนำไปเสนอต่อที่ประชุม The first International Conference on Service Science ณ เมือง San Jose มณรัฐแคลิฟฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเดือนมีนาคม2554

Smart Farm Flagship

เพื่อให้ผลงานวิจัยและพัฒนาสามารถตอบสนองการพัฒนาประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้จัดทำแผนการปฏิบัติงานระยะ 3 ปี (พ.ศ.2551-2553) ภายใต้ชื่อแผนปฏิบัติการ NECTEC Flagship Project เพื่อผลักดันผลงานวิจัยและพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้าง โดยให้ความสำคัญกับการทำงานแบบบูรณาการ โดยการสร้างพันธมิตรและเครือข่ายความร่วมมือให้เข้ามาอยู่ในแผนการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นการวิจัยจนนำไปสู่การใช้งานจริง

วัตถุประสงค์ของ Flagship Project 1) เป็นกลยุทธ์ระดับองค์กรที่ต้องการขับเคลื่อนงานวิจัยของ เนคเทคให้ตอบโจทย์ตรงต่อสภาพปัญหาของประเทศ มีพันธมิตรและกลุ่มเป้าหมายชัดเจน 2) เป็น Pilot project ที่เสริมสร้างการทำงานลักษณะทีมวิจัยภายในประเทศ 3) เป็นตัวเชื่อมสำคัญในการโยงงานวิจัยของเนคเทคระดับ Platform กับ Cluster ของ สวทช. 4) บริหารจัดการแบบครบวงจรซึ่งตรงกับรูปแบบการทำงานของเนคเทค ที่เน้นการบริหารจัดการโครงการและเชื่อมโยงแหล่งทุนหรืองบประมาณทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ เนคเทคได้กำหนด Flagship project ไว้ 3 ด้าน ได้แก่ Digitized Thailand, Smart Health และ Smart Farm

แนวคิดหลักของ Smart Farm คือ การพัฒนางานวิจัยเพื่อเสริมกลยุทธ์ From farmer to market โดยมุ่งเน้นเรื่องการเพิ่มผลิตภาพการผลิต ลดต้นทุน ยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตรโดยการบูรณาการและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าไปพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ของกระบวนการทางการเกษตรตั้งแต่การผลิตสู่การตลาดและสู่มือผู้บริโภค โดยในระยะแรก Smart farm เน้นการนำผลงานต้นแบบจากห้องปฏิบัติการวิจัยของเนคเทค เพื่อนำไปขยายผลโดยร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ชุมชนในพื้นที่ และองค์กรบริหารระดับท้องถิ่น เป็นต้น

Smart Farm Flagship มีภารกิจเร่งด่วนในการกำหนดแผนที่นำทางสำหรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อกำหนดทิศทางของงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการยกระดับการพัฒนาการเกษตรใน 4 ด้าน ได้แก่ การผลิต คุณภาพมาตรฐานการผลิตและสินค้า การลดความเสี่ยงในภาคเกษตรอันเกิดจากการระบาดของศัตรูพืชและภัยจากธรรมชาติ และการจัดการและส่งผ่านความรู้ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดจากการวิจัยไปสู่การตอบโจทย์ทางสังคม เพื่อสร้างรากฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับชุมชนเกษตร จะดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนร่วมกับการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้าน IT โดยห้องปฏิบัติการของเนคเทค ได้แก่ 1) หน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (EST) 2) หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา (HLT) 3) หน่วยปฏิบัติการวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ (KEA) 4) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเครือข่าย (NTL) 5) ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)

 

ภาพที่ 3-1 Smart Farm Flagship

จากการศึกษาภาพอนาคตทางด้านเกษตรและอาหารของประเทศไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้า พบประเด็นการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่สำคัญ ที่การจัดทำ Smart Farm Flagship ต้องคำนึงถึงหลายประการ สรุปพอเป็นสังเขปได้ดังนี้

  • ราคาอาหารในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าประเทศไทยจะได้ประโยชน์ในฐานะที่เป็นผู้ส่งออกอาหาร แต่ไทยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อตักตวงผลประโยชน์จากภาวะราคาอาหารที่สูงขึ้น
  • กระแสการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช้ภาษีทวีความรุนแรงขึ้น โดยแฝงมากับเรื่องภาวะโลกร้อน อาหารปลอดภัย การใช้แรงงานเด็ก
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น ฤดูกาลแปรปรวน เกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง และรุนแรงขึ้น การระบาดของแมลงศัตรูพืช กระทบต่อการผลิตสินค้าเกษตร
  • นโยบายผลิตอาหารเลี้ยงตัวเองของประเทศผู้นำเข้า ทำให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกแปรปรวน
  • ภาคเกษตรไทยเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น เพราะรายได้จากอาชีพทางการเกษตรไม่แน่นอน เมื่อเทียบกับภาคอุตสาหกรรมหรือบริการ วัยแรงงานจึงเคลื่อนย้ายไปอยู่ในภาคอุตสากรรมและบริการเป็นจำนวนมาก
  • ปัญหาการขาดแคลนน้ำมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น จากการบริหารจัดการน้ำ และการใช้น้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทุกสาขาการผลิตมีความต้องการใช้น้ำมากขึ้น ขณะที่น้ำต้นทุนมีปริมาณเท่าเดิม
  • ความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นจุดแข็งของไทย ถูกกระทบโดยการทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่มีมากขึ้น ประกอบกับการขาดการอนุรักษ์และปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ที่ดีของไทยให้คงอยู่ในประเทศ ทำให้สินค้าเกษตรไทยขาดเอกลักษณ์เฉพาะ

ด้วยภาพอนาคตดังกล่าว การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับภาคเกษตรเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ ทั้งนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ แต่การใช้งาน IT ในยุคปัจจุบันของภาคเกษตรอาจจะยังไม่สามารถตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ ประกอบกับทางเลือกทางเทคโนโลยีในอนาคตจะมีมากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและความหลากหลายของเครื่องมือ ดังนั้นเพื่อให้การจัดทำ Smart Farm Flagship ดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรในอีก 5 ปีข้างหน้า ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติจึงได้จัดให้มีการรับฟังปัญหาและความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงผู้ผลิตหรือเกษตรกรโดยตรง เพื่อนำประเด็นปัญหาดังกล่าวมากำหนดเป็นเป้าหมายของการวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใน Smart Farm Flagship

นัยต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

จากวิกฤตอาหารโลกที่กล่าวมาข้างต้น สำหรับประเทศไทยแล้วสามารถเรียกวิกฤตดังกล่าวได้ว่า “โอกาส” โดยต้องใช้ความเป็นประเทศเกษตรกรรม ความพร้อมของฐานทรัพยากร การได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐซึ่งเป็นจุดแข็งมาพัฒนาให้เป็น “ครัวของโลก” ตามนโยบายของรัฐบาลได้ โดยต้องมีการบริหารจัดการ และเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสม

2.3.1 สารสนเทศด้านการเกษตร

จุดอ่อนประการสำคัญของประเทศไทยคือการบริหารจัดการ การเชื่อมโยง และการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เริ่มตั้งแต่การเชื่อมโยงข้อมูลด้านเกษตรจากภาครัฐ โดยต้องทำให้ข้อมูลภาครัฐที่มีมาตรฐานต่างกัน เชื่อมโยงเข้าด้วยกันได้

ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อการวางแผนการผลิต การจัดทำระบบข้อมูลเชิงพื้นที่โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) การจัดทำคลังข้อมูล (meta data) และการบริหาร เพื่อการวางแผนการใช้ที่ดินสำหรับปลูกพืชพลังงาน พืชอาหาร และปศุสัตว์ ควรมีการวางแผนการใช้ที่ดินสำหรับเกษตรกรรมให้เพียงพอต่อความต้องการ เหมาะสมกับทรัพยากรที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และสภาพภูมิอากาศ โดยจัดโซนนิ่งการเพาะปลูกตามสมรรถภาพของดินในแต่ละพื้นที่ การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล (Remote sensing) เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือภัยพิบัติที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากดินถล่ม น้ำปนตะกอนบ่า น้ำหลาก และน้ำท่วมขัง ดังนั้นการใช้เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจาก scale ต่างๆ (ประเทศ, ภาค, จังหวัด, หมู่บ้าน) จะนำไปสู่การตรวจวัดและเฝ้าระวังพื้นที่ได้ละเอียดถึงในระดับชุมชนที่ได้รับผลกระทบตรงและเป็นหน่วยผลิตอาหารที่สำคัญ โดยเตรียมการให้ทุกภาคส่วนมีการตื่นตัว ปรับตัว และรับมือกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น สามารถแปลงวิกฤติเป็นโอกาสได้อย่างกลมกลืน นอกจากนี้การกำหนดนโยบายส่งเสริมและใช้มาตรการจูงใจให้เกษตรกรเพาะปลูกตามแผนที่วางไว้ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรที่เป็นความมั่นคงทางอาหารของชาติให้แข็งแกร่งแข่งขันได้

การเข้าถึงข้อมูลการตลาดและข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ ของเกษตรกรและผู้ประกอบการอาหาร การค้าออนไลน์ และการใช้ระบบตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เพื่อทำให้ระบบเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะระบบตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเป็นการประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรได้ และพัฒนาให้เกษตรกรและผู้ประกอบการอาหารมีความรู้เกี่ยวกับทิศทางของการผลิตและราคาสินค้าล่วงหน้า เพื่อปรับแผนการผลิตให้มีความยืดหยุ่น และสอดคล้องกับสถานการณ์การค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

2.3.2 ผลิตภาพการผลิต

พัฒนาให้ภาคเกษตรและอาหารของไทยมีความสามารถมากขึ้นในการแข่งขันกับต่างประเทศ เร่งสร้างผลิตภาพ (Productivity) เพื่อเพิ่มผลผลิตและยกระดับรายได้ การพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการผลิต ตั้งแต่การพัฒนาพันธุ์พืช เทคโนโลยีการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการแปรรูป เพื่อให้เกษตรกรไทยเป็น smart farmer สิ่งสำคัญคือ ควรใช้เทคโนโลยีที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งกำเนิดสินค้าได้เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขและข้อตกลงระหว่างประเทศ และเงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศนอกระบบภาษี (non-tariff barrier) นอกจากนี้ควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บ และการขนส่งสินค้าให้ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน เช่น เทคโนโลยีบาร์โคด และ RFID (Radio-frequency identification) รวมถึง GPS (Global Positioning System)

2.3.3 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

ในเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ในอนาคตอาหารพร้อมปรุง ในบรรจุภัณฑ์ที่พร้อมอุ่นด้วยไมโครเวฟมีแนวโน้มการบริโภคมากขึ้น เนื่องจากความเป็นแมืองแผ่ขยายมากขึ้น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และพฤติกรรมการบริโคก็เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการทำรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้สะดวก ปลอดภัย ลวดลายมีความสวยงามดึงดูดสายตาผู้บริโภค โดยใช้จุดแข็งของคนไทยที่มีศิลปะและความสร้างสรรค์

2.3.4 บริหารจัดการความรู้

การจัดการความรู้ภาคเกษตร เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ การผลิต และความมั่นคงทางอาหารของประเทศ เป็นที่ทราบกันดีว่าประชากรทีประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีประมาณ 5.8 ล้านครัวเรือน ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ การพัฒนาที่สำคัญและเร่งด่วนควรเป็นการพัฒนาคนในภาคเกษตรให้สามารถรับข้อมูลข่าวสารได้ทัดเทียมกับคนกลุ่มอื่นในสังคม และมีฐานะความเป็นอยู่ที่ใกล้เคียงกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ การเรียนรู้ในภาคประชาชนนี้ต้องไม่ติดกับกรอบบทเรียนแต่ต้องเป็นเสริมความสามารถในการเข้าถึงแหล่งความรู้ หรือได้รับการบริการความรู้ตามการร้องขอตามโจทย์และพื้นที่ และควรเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life long learning)

การใช้ ICT ช่วยกระตุ้นเกษตรกรให้เกิดการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในปัจจุบันเกษตรกรและผู้ผลิตภาคเกษตรและอาหารของไทยมีพื้นฐานการศึกษาที่หลากหลาย โดยทั่วไปเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มีระดับการศึกษาสูงกว่าเกษตรกรที่ปลูกพืช เกษตรกรที่ปลูกพืชสวน ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ ในเขตชลประทาน มีการศึกษาสูงกว่าเกษตรกรผู้พืชไร่ (ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน) จากบทความเรื่องเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทย1 ได้อนุมานว่าเกษตรกรไทยมากกว่าร้อยละ 90 มีความสามารถทั้งการอ่านและเขียน และในจำนวนนี้มีสามารถเข้าถึงสื่อวิทยุ และโทรทัศน์ แต่มีเกษตรกรจำนวนน้อยมากที่เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศผ่าน internet และใช้สื่อการเรียนรู้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อทัศนคติของการใช้ปัจจัยการผลิต และเทคโนโลยีของเกษตรกร มายาวนาน คือ สื่อ และตัวแทนจำหน่ายในท้องถิ่น (ภาพที่ 2.11) ดังนั้น การส่งเสริมความรู้ทักษะและการใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมผ่านสื่อและหน่วยงานเครือข่าย ควรต้องผนวกเข้ากับการเสริมความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อวางแผน เปรียบเทียบทางเลือก และวิธีการต่างๆ อีกด้วย

2.3.5 คุณภาพชีวิตเกษตรกร

เกษตรกรไทยเป็นกระดูกสันหลังของชาติ เป็นคำพูดที่กลายเป็นอัตลักษณ์ประจำตัวของเกษตรกรไทยไปแล้ว แต่ในความเป็นจริงเกษตรกรไทยยังมีคุณภาพชีวิตที่แตกต่างจากคนไทยในสังคมเมือง ทั้งทางด้านรายได้ การศึกษา ความเป็นอยู่ โครงสร้างพื้นฐาน และการยอมรับในสังคม ปัญหาความเหลื่อมล้ำนี้ส่งผลให้แรงงานรุ่นใหม่เกิดการเคลื่อนย้ายออกจากภาคเกษตร อาจเกิดการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือในภาคเกษตรในอนาคต อาจทำให้ประเทศต้องพบกับปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร (food insecurity) และความสั่นคลอนทางเศรษฐกิจได้

ข้อมูลจากการศึกษาของ ดร.ปัทมาวดี ซูซูกิ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอมุมมองของการพัฒนาคนภาคเกษตร โดยเน้นเรื่องความมั่นคงทางวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร (Livelihood security) ประกอบด้วย

  • การทำให้รายได้จากฟาร์มสามารถเป็นรายได้หลักที่สามารถทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความเท่าเทียมกันในสังคม (ability to survive based on farm activities) เพราะรายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรอย่างเดียวในขณะนี้ไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องพึ่งรายได้จากนอกภาคเกษตร
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มในอันที่จะเพิ่มผลผลิตคุณภาพและการจัดการต่อความหลากหลายของวิถีชีวิต (farm efficiency and diversified livelihood)
  • การให้ความสำคัญของการรวมกลุ่มเกษตรเพื่อสะดวกในการจัดการส่งผ่านความรู้และการจัดการเทคโนโลยี ในลักษณะกลุ่มฟาร์มขนาดเล็กที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการและลดความเสี่ยงในการผลิต(intensive farming and risk minimization)
  • การมองเกษตรกรในมุมมองของผู้ผลิตและผู้บริโภคในขณะเดียวกัน(farmers as consumers and producers)

 

จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า เกษตรกรมีรายได้จากนอกภาคเกษตรในอัตราส่วนที่สูงกว่ารายได้จากภาคเกษตร (ภาพที่ 2.12) ในฤดูเพาะปลูกเกษตรกรมักต้องไปกู้เงินทั้งจากในและนอกระบบเพื่อมาใช้หมุนเวียนในกระบวนการผลิต ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรก็ตกต่ำเนื่องจากขาดการวางแผนการผลิตที่ดีในระดับมหภาค ทำให้ผลผลิตมากกว่าความต้องการของตลาด รายได้เกษตรกรไม่เพียงพอต่อการใช้หนี้เกิดปัญหาของการเป็นหนี้สินเรื้อรังตามมา นอกจากนี้ปัจจัยเสริมที่ทำให้ปัญหาเหล่านี้ยังคงอยู่คือ การสนับสนุนจากภาครัฐที่ฉาบฉวย เน้นแก้ปัญหาปลายเหตุมากกว่ารากเหง้าของปัญหา เกษตรกรขาดการเรียนรู้ในการใช้ข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ดังนั้น หากแก้ปัญหาเรื่องราคาสินค้า และต้นทุนการผลิตของภาคเกษตรไม่ได้ ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรได้เช่นกัน

 

1 รศ.ดร.พงศ์เทพ อัครธนกุล. 2552. เกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทย. เอกสารประกอบการสัมมนาสมัชชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 8, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.


ภาพเชิงซ้อนของภาคเกษตร

สำหรับประเทศไทยภาคเกษตรไม่ได้เป็นเพียงแค่แหล่งผลิตพืชเท่านั้น ยังมีภาพเชิงซ้อนของภาระภาคเกษตรที่ต้องคำนึงถึง6 ดังนี้

  1. การเกษตร ไม่เป็นเพียงกิจกรรมที่เพียงแต่มุ่งผลิตหรือประกันความมั่นคงทางอาหาร แต่มีส่วนในบริบทของพลังงานชีวภาพ ชีวมวล การรักษาสภาพแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการก๊าซเรือนกระจก (การจัดการคาร์บอน) การประกันความมั่นคงของโครงสร้างทางสังคม การสร้างงาน และการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน
  2. การเกษตรและขบวนการผลิตสินค้าเกษตรของไทยมีหลายระดับ หลายขนาด ตั้งแต่ทำเพื่อพอกินพอใช้ ทำขายในพื้นที่ ขายในประเทศ ส่งออกสู่ตลาดภูมิภาคตลาดโลก
  3. มีความหลายหลายในรูปแบบของการใช้ปัจจัยการผลิต ทั้งที่มีอยู่ในประเทศ และปัจจัยที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงปัจจัยชีวภาพ กายภาพ และการเงิน micro-meso-macro finance เป็นต้น
  4. การเกษตรเป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการจัดการที่เป็นมรดกตกทอด และเทคโนโลยีนำเข้าสมัยใหม่ เป็นการบูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กับวิทยาศาสตร์กายภาพ ระหว่างเทคโนโลยี/วิทยาการสมัยใหม่กับภูมิปัญญาพื้นบ้าน ระหว่างวิทยาศาสตร์กับสังคมศาสตร์ โดยมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่งการจัดการปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยด้านทรัพยากรกายภาพ และปัจจัยด้านสังคม
  5. ระบบเกษตรกรรมไทยไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ จากความหลากหลายทางเชื้อพันธุกรรมพืชและสัตว์ที่มีอยู่ในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ต้องใช้ประโยชน์จากความหลายหลายทางชีวภาพ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ และต้องพร้อมรับเงื่อนไขทางทรัพย์สินทางปัญญาในการบริหารจัดการทรัพยากรทางพันธุกรรม

จากประเด็นปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ในท้ายนี้จะขอสรุปให้เห็นประเด็นที่ท้าทายการผลิตของภาคเกษตรและอาหารของไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต ที่ต้องเตรียมแผนการรองรับ/ป้องกัน ดังนี้1

  1. ความสามารถในการรักษาความมั่นคงด้านอาหารของประชากรในประเทศได้อย่างยั่งยืน
  2. ความสามารถในการรองรับการสร้างงาน และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในชนบท
    ลดช่องว่างรายได้ระหว่างอาชีพเกษตรกรกับอาชีพอื่น
  3. ความยั่งยืนของระบบเกษตรกรรมและอาหาร ที่สัมพันธ์กับความสามารถรองรับของทรัพยากรธรรมชาติของประเทศโดยเฉพาะในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก
  4. ความสามารถในการปรับตัวตามเงื่อนไขและข้อตกลงระหว่างประเทศ และเงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศนอกระบบภาษี (non-tariff barrier) ที่มีผลต่อผลิตผลด้านเกษตรและอาหารของไทย เช่น
  • ระบบคุณภาพHACCP (Hazard Analysis Critical Control Point)
  • ระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 (มาตรฐานการรับรองห้องปฎิบัติการ)
  • Pangan Segar Asal Tumbuhan (PSAT) ของอินโดนีเซีย เป็นกฎระเบียบใหม่ในการควบคุมอาหารนำเข้าซึ่งผลิตมาจากพืช (fresh food of plant origin)
  • การตรวจสอบการผลิตสินค้าว่าได้มาตรฐานการค้าโดยชอบธรรมหรือไม่ โดย องค์กรสากลเพื่อติดฉลากการค้าที่เป็นธรรม หรือ องค์กรแฟร์เทรด (Fairtrade Labelling Organizations International :FLO)
  • มาตรการนำเข้าอาหารที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ปริมาณน้อย หรือ Import Permit Guide for Products with Small Amounts of Meat, Poultry and Egg โดยประเทศสหรัฐอเมริกา
  1. ความสามารถรักษาระดับการผลิตโดยไม่ขึ้นอยู่กับแรงงงานต่างด้าว
  2. ลดการพึ่งพาวัตถุดิบประเภทโปรตีน เคมีภัณฑ์ทางการเกษตร และเวชภัณฑ์สำหรับปศุสัตว์ ความสามารถในการพึ่งพาตนเองของประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรไทย ความสามารถที่เพิ่มขึ้นของประเทศคู่แข่ง ความสามารถในการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตใหม่ ตลอดจนพฤติกรรมการบริโภคของผู้นำเข้าที่เปลี่ยนแปลง
  3. ความสามารถในการเข้าใจ และเข้าถึงเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร และปัจจัยการผลิตที่จำเป็น
  4. ความเข้มแข็งในการวิจัย พัฒนา นวัตกรรม และบริการ ที่ประชาคมภาควิชาการเกษตรและอาหาร สามารถเกื้อหนุนภาคการผลิต
  5. ความสามารถในการเผยแพร่ข้อมูลที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ตลอดจนการพัฒนากลไกการสื่อสารระหว่างภาคผลิตกับตลาด และผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศ

 

1 รศ.ดร.พงศ์เทพ อัครธนกุล. 2552. เกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทย. เอกสารประกอบการสัมมนาสมัชชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 8, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สมดุลพืชอาหารและพืชพลังงาน

วิกฤตราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประเทศไทยส่งเสริมการผลิตพลังงานชีวภาพ เพื่อใช้ทดแทนพลังงานราคาแพง เกิดกระแสการส่งเสริมปลูกพืชพลังงาน และลดพื้นที่การปลูกข้าวรวมถึงพืชอาหารอื่นที่ประสบปัญหาราคาตกต่ำ เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงานซึ่งมีการผลักดันให้มีการขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานมากขึ้น เป็นการแย่งชิงทรัพยากรกันอย่างรุนแรง โดยคุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BioThai) กล่าวถึงสถานการณ์นี้ไว้ว่า

 

……..หากเป็นเช่นนี้ การเปลี่ยนการใช้พื้นที่จากการเพาะปลูกพืชอาหารไปปลูกพืชพลังงานจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารในระยะยาวอย่างแน่นอน สำหรับประเทศไทยแล้ว ความมั่นคงทางอาหารนั้นมีรากฐานหลักการผลิตที่สำคัญมาจากเกษตรกรรายย่อย และการใช้พื้นที่เพาะปลูกอย่างหลากหลาย ฉะนั้นผลที่ตามมาเมื่อมีการลดพื้นที่การผลิต การเพาะปลูกข้าว สิ่งแรกคือ จำนวนเกษตรกรก็จะลดลง สิ่งที่สองก็คือ จะมีการผลักดันให้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเก็บผลผลิตให้ได้มากขึ้น สถานการณ์เหล่านี้ ก็มีข้อเสนอขึ้นมาด้วยว่าควรจะต้องมีการเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์จากพืชจีเอ็มโอ (พืชตัดต่อพันธุกรรม) มากยิ่งขึ้น สิ่งที่สำคัญคือในการผลิตพืชแบบนี้ อำนาจในการผลิตจะตกไปอยู่ในมือของบรรษัทมากขึ้น นอกจากเรื่องของปุ๋ย ยาเคมีแล้ว ก็ต้องเพิ่มเรื่องพันธุกรรม (สิทธิบัตรพันธุ์พืช) เข้าไปด้วย ส่วนด้านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมยิ่งไม่ต้องพูดถึง ปัจจุบันก็เกิดเหตุการณ์บุกรุกที่ป่ากันอย่างมาก เพื่อนำมาปลูกพืชพลังงาน”

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงดุลการค้าระหว่างอาหารและพลังงานเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย พบว่าประเทศไทยแม้การส่งออกอาหารจะทำรายได้ให้ประเทศแต่เรายังต้องนำเข้าพลังงานมาใช้หมุนเวียนในประเทศ ในขณะที่ประเทศมาเลเซียสามารถส่งออกอาหารและพลังงานได้ดีทั้ง 2 ประเภท นั่นหมายความว่าประเทศไทยต้องหันมาทบทวนการใช้พลังงานในประเทศ ว่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ พร้อมๆ กับต้องการบริหารจัดการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงาน รวมถึงการกระจายอาหารให้ทั่วถึง อย่างน้อยก็ให้คนไทยที่อยู่ในภาวะทุโภชนาการอีก 10.7 ล้านคน ได้มีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอ

 

วิกฤติแรงงานภาคเกษตร

ภาคเกษตรเป็นภาคที่ใช้แรงงานมากที่สุดแต่มีรายได้ต่อประชากรต่ำสุด ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของภูมิภาค กำลังเผชิญปัญหาใหม่ด้านแรงงานที่จะส่งผลกระทบต่อการผลิตทางการเกษตรในอนาคตอันใกล้นี้ สาเหตุหลักมาจาก

  • การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (aging society) ของประเทศไทย ประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 58 ปี ซึ่งประสิทธิภาพการใช้แรงงานกับการเกษตรนั้นลดลง การขาดตัวเลขสำรวจจำนวนแรงงานที่ทำงานเต็มเวลาในภาคเกษตร และเกณฑ์อายุเฉลี่ย
    เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไม่สามารถวาดแผนการรับมือการขาดแรงงานและการใช้ประโยชน์คนกลุ่มปัจจุบันในฐานะ facilitator ในการส่งต่อความรู้สู่เกษตรกรรุ่นต่อไป
  • ความไม่มั่นคงในรายได้จากการทำการเกษตร (income & stability) ขาดแรงจูงใจ ขาดนโยบายแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนหนุ่มสาวในสังคมเกษตรที่อยู่ในวัยแรงงานไหลออกจากภาคเกษตรไปสู่ภาคอุตสาหกรรมหรือบริการเพื่อมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้การยอมรับในสังคม หรือต้องการเปลี่ยนสถานะเป็นคนเมือง ซึ่งประเด็นนี้จะเกี่ยวโยงกับปัญหา aging society ที่อนาคตแรงงานในภาคเกษตรไทยจะมีแค่ผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผลิตการผลิตของภาคเกษตรลดน้อยถอยลงไปด้วย ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพของคนในภาคเกษตรเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง และอย่างไรให้คนเหล่านี้มีรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรที่ดีขึ้น
  • การเคลื่อนย้ายแรงงาน การขาดแรงงานที่มีคุณภาพนั้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานฝีมือสำหรับภาคการผลิต ที่จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการแข่งขันในตลาดเสรี ขณะที่ไทยกำลังเผชิญปัญหาการขาดแรงงานหลักกำลังไหลบ่าออกจากภาคเกษตรนั้น มีแรงงานทดแทนในภาคเกษตรที่ช่วยขับเคลื่อนให้ภาคเกษตรยังคงเดินต่อไปได้ ประกอบด้วย
  • ผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ที่ไม่มีพื้นฐานเกษตร อาจเป็นนักลงุทน หรือเรียนสาขาวิชาอื่นแต่อยากทำเกษตรกรรม รวมถึงกลุ่มผู้เษียณอายุ
  • แรงงานรับจ้างถาวร
  • แรงงานรับจ้างชั่วคราว ที่ส่วนใหญ่เป็นคนต่างด้าว และแรงงานกลุ่มนี้จะเพิ่มมากขึ้นหลังจากเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาซียนในปี 2558 (..2015) ซึ่งประเด็นที่ต้องระวังคือผลิตภาพการผลิตของไทยที่มีแนวโน้มพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวมากขึ้น